บริษัทคลินิคจิต-ประสาท

 ห้องรับแขก

กลับไป ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชและปัญหาพฤติกรรม      

 

 

 

สุขภาพจิตโรงเรียน

School Mental Health

 ผศ.นพ.พนม   เกตุมาน

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์   คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

การบริการจิตเวชส่วนใหญ่ในโรงพยาบาลเป็นการตั้งรับ ให้บริการเมื่อผู้ป่วยมีปัญหาหรือมีอาการมากถึงระดับหนึ่งที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน การบำบัดรักษาจึงมักยากไม่ค่อยได้ผล ทั้งนี้เพราะอาการของโรคค่อยๆเกิดขึ้นมานานพอสมควร บางครั้งคนที่ใกล้ชิดเด็กไม่รู้ว่าอาการเริ่มต้นนั้นที่เห็นนั้นคือปัญหาจิตเวช บางคนรู้ว่าเป็นปัญหาจิตเวช แต่ไม่รู้ว่าจะพาไปพบจิตแพทย์ที่ไหน จึงอาจให้ความช่วยเหลือไม่ถูก การให้บริการเชิงป้องกันที่ดีจึงจำเป็นต้องเข้าถึงชุมชน เช่นในโรงเรียน เพื่อหาทางป้องกันปัญหาถ้าเป็นไปได้ และเมื่อพบปัญหาสุขภาพจิตหรือปัญหาจิตเวชการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วจะทำได้ง่าย ปัญหาไม่เรื้อรัง และการฟื้นฟูสภาพจิตใจก็สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพในโรงเรียนเช่นกัน

นปัจจุบันนี้การเรียนระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาภาคบังคับ เด็กทุกคนจะต้องอยู่ในโรงเรียน ทำให้ผู้ให้การบริการเข้าถึงได้ง่าย บริการต่อเนื่อง และใช้ทรัพยากรโรงเรียนเป็นประโยชน์ด้วย บริการจิตเวชที่โรงเรียนจึงสะดวกต่อเด็ก,ครู,พ่อแม่ผู้ปกครอง การที่ครูเป็นผู้ร่วมทีมที่ดีช่วยให้ครูแก้ใขปัญหาพฤติกรรมเด็กได้ผล เด็กมีสุภาพจิตดีก็จะพัฒนาดีขึ้นในทุกด้าน ผลการเรียนก็ดีขึ้นด้วย ผลของการส่งเสริมสุขภาพจิตในโรงเรียนยังมีแก่เด็กทั่วไปทุกคนด้วย และยังมีผลต่อสุภาพจิตครูด้วย เมื่อครูมีความสุขใจ บรรยากาศในการเรียนการสอนก็ย่อมดีขึ้น นักเรียนก็จะมีความสุขและพัฒนาไปในทางที่ดี ซึ่งจะเป็นปัจจัยป้องกันปัญหาจิตเวชในอนาคต

 

คำจำกัดความ สุขภาพจิตโรงเรียนคือ บริการจิตเวชชุมชน โดยมีศูนย์กลางของบริการอยู่ที่โรงเรียน กลุ่มประชากรเป้าหมายคือเด็กและวัยรุ่น เน้นการป้องกันปัญหาทางสุขภาพจิต

กลยุทธ์ในการจัดบริการ (strategies)

บริการเชิงรุก (active)

มุ่งเน้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียน พ่อแม่ผู้ปกครอง และครูอาจารย์

¯           กลุ่มนักเรียน

ให้บริการส่งเสริมสุขภาพจิตใจ พัฒนาตนเองทุกด้าน เพื่อให้มีสุขภาพจิตดี มีความเข้มแข็งทางจิตใจ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงมาก และเติบโตเป็นคนที่มีบุคลิกภาพดี

¯           พ่อแม่ผู้ปกครอง

ให้ความรู้ในการดูแลเด็กและวัยรุ่น การแก้ใขปัญหาพฤติกรรมหรืออารมณ์ โดยให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างบ้านกับโรงเรียน

 ¯           ครูอาจารย์

ให้ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยา ปัญหาพฤติกรรม ปัญหาทางจิตเวช เพื่อให้สามารถคัดกรองเด็กที่เริ่มมีปัญหา ให้การดูแลเด็กเบื้อง  และสามารถร่วมมือกับทีมจิตเวชในการดูแลรักษาฟื้นฟูในโรงเรียน

 ข้อดีของการให้บริการที่โรงเรียน

  1. พ่อแม่มักให้ความร่วมมือ ในการสอบถามพฤติกรรมเด็ก และการประเมินช่วยเหลือเด็กในโรงเรียน เนื่องจากการบริการจะช่วยทำให้เกิดผลดีต่อเด็กโดยเฉพาะเรื่องการเรียน ส่วนปัญหาพฤติกรรมที่เพิ่งเริ่มเกิดขึ้น การช่วยเหลืออย่างรวดเร็วจะกระตุ้นให้พ่อแม่มีความตระหนัก และเข้ามามีบทบาทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาตั้งแต่ต้น

  2.  ครูมีเวลาอยู่ใกล้ชิดเด็กมาก สามารถสังเกตพฤติกรรมเด็กได้ในทุกพัฒนาการ ครูสามารถเป็นผู้คัดกรองที่ดี แยกแยะเด็กที่มีความเสี่ยง สามารถส่งเด็กมารับการประเมิน ช่วยเหลือปัญหาเบื้องต้น และร่วมมือกับทีมสุขภาพจิตเพื่อบำบัดรักษาฟื้นฟูในโรงเรียน

  3.  การป้องกันทำได้ง่ายกว่าการแก้ไข

  4. การรักษาอย่างรวดเร็วได้ผลดีกว่าเมื่อเป็นเรื้อรัง

  5. กลุ่มเพื่อนมีส่วนช่วยในการฟื้นฟู

  6. การพัฒนาบุคลิกภาพเป็นการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต 

Weakness

  1. ไม่สามารถให้บริการครอบคลุมกว้างขวาง

  2. เตรียมความพร้อมครูและผู้บริหาร

  3. การรักษาด้วยยา

  4. โรงเรียนขาดทรัพยากร (นักจิตวิทยาโรงเรียน, ความรู้ และ ทักษะ)

Opportunities

  1. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ..๒๕๔๒

  2. โอกาสของผู้ป่วยทางจิตเวชจะได้รับบริการ

Threats

  1. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ..๒๕๔๒

  2. แพทย์จะเป็นที่ต้องการในการตรวจวินิจฉัยโรค,การป้องกัน,รักษา,ฟื้นฟู

  3. ระบบการส่งต่อผู้ป่วยจำเป็นต้องมีทั่วถึง

 หลักการจัด

การให้บริการสุขภาพจิตที่ดีจึงจำเป็นต้องผสมผสานในระบบของโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนควรมีความเข้าใจ และมีเจตคติที่ดี เป็นผู้ให้การส่งเสริมสนับสนุน

 ปัญหาสุขภาพจิตในเด็ก

  1. การเรียน เรียนอ่อน, สมาธิสั้น, ไม่ตั้งใจเรียน, หนีเรียน, กลัวโรงเรียน

  2. พฤติกรรม  ซึม,แยกตัว, ขาดความมั่นใจตนเอง, ไม่กล้าแสดงออก, ก้าวร้าว, เกเร, โขมย, พูดปด,

  3. กระตุ้นตนเอง  กัดเล็บ, ดูดนิ้ว, ถอนผม

  4. อาการทางกาย  ปวดหัว, ปวดท้อง, คลื่นไส้, อาเจียน, ปัสสาวะบ่อย, หายใจหอบแน่น,

  5. การเคลื่อนไหว  กล้ามเนื้อกระตุก, ยุกยิก, อยู่ไม่นิ่ง, ซน

  6. อารมณ์  วิตกกังวล, ซึมเศร้า

 ประวัติบริการสุขภาพจิตโรงเรียน

  1. คลินิคสุขวิทยาจิต โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา พ.. ๒๔๙๖

  2.  ศูนย์สุขวิทยาจิต กระทรวงสาธารณสุข พ.. ๒๕๑๒

  3.  ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

bullet

   โรงเรียนโฆษิตสโมสร พ.. ๒๕๒๕

bullet

   โรงเรียน สตรีวัดระฆัง ๒๕๒๖

bullet

   โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ๒๕๒๘

bullet

   โรงเรียนอนุบาลวัดปรินายก ๒๕๔๒

bullet

   โรงเรียนสวนอนันต์ ๒๕๔๒

bullet

   โรงเรียนสตรีวิทยา ๒๕๔๔

bullet

   โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ๒๕๔๔

bullet

   โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๒๕๔๔

bullet

   โรงเรียนโยธินบูรณะ ๒๕๔๔

 

 วัตถุประสงค์

.การป้องกันระดับปฐมภูมิ

  1. ส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน ร่างกาย,จิตใจ, อารมณ์, สังคม และ จริยธรรม

  2. ค้นหาเด็กกลุ่มเสี่ยง และให้การช่วยเหลือโดยเร็ว

  3. ลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจิต

  4. เสริมสร้างปัจจัยป้องกัน

 .การป้องกันระดับทุติยภูมิ

  1. ค้นหาเด็กที่ป่วยทางจิตเวช และให้การรักษาโดยเร็ว

  2. สร้างระบบการให้บริการทางจิตเวช และการส่งต่อ

  3. เพิ่มความสามารถครูและพ่อแม่ในการค้นหา,รักษา และส่งต่อ

.การป้องกันระดับตติยภูมิ

  1. เพิ่มความสามารถครูและพ่อแม่ในการฟื้นฟูสภาพ

  2. เสริมสร้างทักษะเพื่อนช่วยเพื่อน

 

เด็กกลุ่มเสี่ยง( High Risk Group)

เด็กกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะเกิดปัญหาพฤติกรรม ,อารมณ์,การเรียน และป่วยเป็นโรคจิตเวช

ปัจจัยเสี่ยง

.ปัจจัยในตัวเด็ก

ปัญหาทางกาย (โรคทางกาย,ความพิการทางกายหรือทางสมอง)

ปัญหาสติปัญญา (ปัญญาอ่อน หรือ ปัญญาเลิศ)

พื้นอารมณ์ที่เป็นปัญหา ( Difficult Temperament)

ลักษณะนิสัยไม่พึงประสงค์ (Bad Habit)

.ปัจจัยภายในครอบครัว

ครอบครัวแตกแยก ขาดความอบอุ่น

ปัญหาจิตเวชของพ่อแม่ หรือ สมาชิกครอบครัว

ทัศนคติการเลี้ยงลูกไม่ถูกต้อง

ขาดการอบรมสั่งสอนกระตุ้นอย่างถูกต้อง

ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม

.ปัจจัยภายในโรงเรียน

ระบบการศึกษา

ระบบการเรียนการสอน

ครู

เพื่อน

.ปัจจัยสิ่งแวดล้อม

เพื่อนบ้าน

อาชญากรรม

กิจกรรมงานสุขภาพจิตโรงเรียน

.ระดับปฐมภูมิ

  1. การปรับเปลี่ยนทัศนคติผู้บริหาร

  2. การให้ความรู้ครูและพ่อแม่

  3. การเลี้ยงเด็ก การพัฒนาเด็ก

  4. การค้นหาเด็กกลุ่มเสี่ยง

  5. การจัดกิจกรรมสร้างทักษะส่วนตัวและทักษะสังคม ให้ความรู้เรื่องเพศ,สารเสพติด

 .ระดับทุติยภูมิ

  1. การรับการปรึกษาเด็กป่วยทางจิตเวช (case consultation)

  2. การรับการปรึกษาเด็กพิเศษ(seriously emotionally disturbed SED or special classes)

  3. การให้ความรู้ครูและพ่อแม่เรื่องโรคทางจิตเวชที่พบบ่อย,บทบาทพ่อแม่ในการช่วยเหลือ

  4. สร้างระบบการช่วยเหลือ และ การส่งต่อฟื้นฟู

  5. การฝึกทักษะการให้คำปรึกษาแก่ครู

 .ระดับตติยภูมิ

  1. การให้ความรู้และทักษะครูในการช่วยฟื้นฟูเด็ก

  2. การให้ความรู้และทักษะเพื่อให้เด็กช่วยเหลือกัน

 

แนวทางการจัด

.สำรวจปัญหาสุขภาพจิตในนักเรียน และความต้องการของโรงเรียน

.สร้างระบบการทำงานร่วมกัน

       ผู้บริหารเข้าใจและต้องการ

       ครูเข้าใจและร่วมมือ

      ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมมือ

      สร้างทีมประสานงาน

.สร้างความเชื่อมั่นในบริการแก่นักเรียนและครู

       การให้บริการหลากหลายทั้งการป้องกันและการรักษา

      การเก็บรักษาความลับ

      การให้ครูมีส่วนร่วม

  

ปัญหาโรคจิตเวชเด็กประถมศึกษาที่พบบ่อย

.โรควิตกกังวล (Generalized anxiety disorder)

.โรคกลัว (Phobic disorders)

.โรคซึมเศร้า (Major depression)

.โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder)

.โรคพฤติกรรมผิดปกติ (Conduct disorder)

.โรคเครียด (Psychosomatic disorders)

.โรค L.D. (Learning disorders)

.โรคปัญญาอ่อน (Mental retardation)

.โรคTics (Tics disorder)

๑๐.โรคกลัวโรงเรียน (School phobia/Separation anxiety disorder)

๑๑.เด็กถูกละเมิด (Child abuse)

๑๒.Posttraumatic Stress Disorder (PTSD)

 

 ปัญหาโรคจิตเวชเด็กมัธยมศึกษาที่พบบ่อย

.เด็กไม่เรียนหนังสือ(Truancy)

.การใช้สารเสพติด (substance use disorders)

.ปัญหาทางเพศ เบี่ยงเบนทางเพศ เพศสัมพันธ์

.Anorexia Nervosa

 

ปัญหาพฤติกรรมในเด็กและวัยรุ่น

.ขาดแรงจูงใจในการเรียน ( low or lack of motivation)

.ดื้อ, ต่อต้าน (oppositional defiant)

.กระตุ้นตนเอง (self stimulation)

.ก้าวร้าว (aggression) 

.การฆ่าตัวตาย (Suicide)

 

การรับปรึกษาเด็กที่ มีปัญหา (Case consultation)

                 การให้ความช่วยเหลือใช้แนวทางประสานความร่วมมือกันของหลายวิชาชีพ(  Multidisciplinary approach) คือ แพทย์ นักจิตวิทยา ครูอาจารย์ นักสังคมสงเคราะห์ และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง

1.     การคัดกรองเด็กที่มีปัญหาและส่งปรึกษา (Identification /Referral information) ครูจะเป็นผู้คัดกรองเด็กที่มีปัญหาโดยการสังเกตพฤติกรรมเด็ก การใช้แบบคัดกรองมาตรฐาน การใช้แบบสอบถามบิดามารดา หรือการพิจารณาความเสี่ยงรายบุคคลของเด็ก ครูที่มีความรู้ทางจิตวิทยาหรือจิตเวชเด็กและวัยรุ่นจะมีความสามารถในการคัดกรองเด็กได้ดี

2.     การประเมินเด็ก(Individual Assessment  / Classroom observation)

แพทย์และทีมจะประเมินเด็กด้วยการสัมภาษณ์และตรวจสภาพจิต  ในบางครั้งอาจขอเข้าสังเกตการณ์พฤติกรรมเด็กในห้องเรียน การตรวจทางจิตวิทยาอาจมีความจำเป็นในบางรายเพื่อประเมินระดับสติปัญญาหรือความสามารถด้านอื่น เรื่องสมาธิหรือเรื่องอารมณ์

3.     Interview with the teacher(s) case study report /behavior checklist

4.     Family Assessment  /  Home Visit

5.     Family Education and Counseling

6.     Teacher Counseling  /Class Placement / Individualized Education Program

7.     Multidisciplinary Intervention

8.     Follow Up

 

Student Interview

1.Introduction

2.Current and past  problems

3.24-hour day  :school(subjects, teachers peers), after school ( friend and activities)

home (parents, stressors)

4.Medical complaints and sleep

5.Mood (anger ,fear, sadness,depression)

6. Minineuroeducational exam

7.Conclusion

 

 Parent Interview

1.Introduction

2.Current problems

3. Past problems and treatment

4.Review of diagnoses

5.Personal history (medical, developmental,social)

6.Family history

   Parents (medical, educational, amd psychiatric)

   Marriage

   Parenting

  Stresses (abuse)

   Genetics

Extended family

7.Conclusion

  

เอกสารอ้างอิง

ธนู ชาติธนานนท์. งานจิตเวชชุมชนในประเทศไทย.ใน: ตำราจิตเวชศาสตร์ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย( พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2536:1055-66.

กวี สุวรรณกิจ. จิตเวชชุมชน. ใน: ตำราจิตเวชศาสตร์ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ ๒) . กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,  2536: 1048-54.

Dworkin PH. Learning and Behavior Problems of Schoolchildren .Philadelphia. W.B. Saunders ,1985.

Mattison RE. Consultation in the school environment. In : Child and Adolescent Mental Health Consultation in Hospitals, Schools, and Courts. Washington, DC American Psychiatric Press, Inc.1993:95-183.

กรมสุขภาพจิต.คู่มือครูสำหรับช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพจิต.พิมพ์ครั้งที่๒.กรุงเทพฯ:กรมสุขภาพจิต,พ.ศ.๒๕๔๒.

กรมสุขภาพจิต.คู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน.พิมพ์ครั้งที่๓.กรุงเทพฯ:กรมสุขภาพจิต,พ.ศ.๒๕๔๓.

กรมสุขภาพจิต.คู่มือส่งเสริมสุขภาพจิตนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สำหรับครู.พิมพ์ครั้งที่๓.กรุงเทพฯ:กรมสุขภาพจิต,พ.ศ.๒๕๔๒.

สุจริต สุวรรณชีพ,วินัดดา ปิยะศิลป์,พนม เกตุมาน. คู่มือพ่อแม่เลี้ยงลูกด้วยความรัก.พิมพ์ครั้งที่๓.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย,พ.ศ.๒๕๔๓.

 

ภาคผนวก

SED : Seriously Emotionally Disturbed

EBD : Emotional or Behavioral Disorder

 

SED Classification

At least one of the following five conditions has to exist,over a long period of time and to a marked degree, which adversely affects education performance.

1.An inability to learn which cannot be explained by intellectual, sensory, or health factors

2.An inability to build or maintain satisfactory interpersonal relationships with peers or teachers.

3.Inappropriate types of behavior or feelings under normal circumstances

4.A general pervasive mood of unhappiness or depression

5.A tendency to develop physical symptoms or fears associated with personal or school problems

US Public Law94-142

 

 

<ห้องรับแขก

  คลินิคจิต-ประสาท 563 ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล  เขตดุสิต  กทม 10300  โทร. 0-2243-2142  0-2668-9435

   ส่งเมล์ถึง panom@psyclin.co.th พร้อมด้วยข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเว็บไซท์นี้
   ปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุด:21/05/50