บริษัทคลินิคจิต-ประสาท

 ห้องรับแขก

กลับไป ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชและปัญหาพฤติกรรม      

 

 

 

อี.คิว. ความฉลาดทางอารมณ์

 ผศ.นพ.พนม   เกตุมาน

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์   คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

อี.คิว. คือคำที่มีความหมายใช้เรียกความฉลาดทางอารมณ์ โดยเลียนแบบไอ.คิว.ซึ่งใช้เรียกความฉลาดทางสติปัญญา

ไอ.คิว. =  (อายุความฉลาดทางปัญญา/อายุจริง) × 100

 อี.คิว.=  (อายุความฉลาดทางอารมณ์/อายุจริง)  × 100

 

Peter Salovey ,John Mayer 1990

•         ความสามารถของบุคคลในการตระหนักรู้ความคิด ความรู้สึก และภาวะอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น และสามารถนำข้อมูลความรู้เหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการชี้นำความคิดและการกระทำของตนเองได้

 

Daniel Goleman 1995

•         Personal competence ความสามารถส่วนตัว

–        Self awareness ตระหนักรู้ตนเอง

–        Self regulation ควบคุมตัวเอง

–        Self motivation สร้างแรงจูงใจ

•         Social competence ความสามารถสังคม

–        Empathy  เอาใจเขาใส่ใจเรา

–        Social skills ทักษะสังคม

 

มิติของอี.คิว.โดย Daniel Goleman

1.     รู้อารมณ์ตนเอง

2.     ควบคุมอารมณ์ตนเอง

3.     กระตุ้นตนเองให้มุ่งมั่น มีกำลังใจ

4.     รู้จิตใจผู้อื่น

5.     สร้างและรักษาความสัมพันธ์

คุณสมบัติของผู้มีอี.คิว.ดี

•         วุฒิภาวะทางอารมณ์ : แสดงออกสมวัย ถูกกาลเทศะ

•         อารมณ์มั่นคง : หนักแน่น ไม่หวั่นไหว

•         อดกลั้น : รู้จักรอ  ไม่หุนหันพลันแล่น

•         ทนทาน : ทนความผิดหวัง  เสียใจ ยากลำบาก อดทน

•         มีกำลังใจ มุงมั่น : ไม่ยอมแพ้อุปสรรค

•         ตระหนักรู้อารมณ์ตนเอง

•         เข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกผู้อื่น

•         สื่อความรู้สึกกับผู้อื่น ปรับตัวกับผู้อื่น 

 

ความสามารถหลัก 8 ด้าน  ของ Howard Gardner

1.     ภาษา

2.     คณิตศาสตร์/ความคิดเชิงเหตุผล

3.     มิติสัมพันธ์

4.     ดนตรี

5.     การเคลื่อนไหว

6.     การรู้จักตนเอง

7.     ความเข้าใจคนอื่น

8.     ความรอบรู้ธรรมชาติ

 

แบบประเมินอี.คีว.ฉบับไทย โดยกรมสุขภาพจิต

คำจำกัดความ      ความสามารถทางอารมณ์ในการดำเนินชีวิตอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข

มิติของการประเมิน

  1. ดี ควบคุมตนเอง เห็นใจผู้อื่น รับผิดชอบ
  2. เก่ง มีแรงจูงใจ ตัดสินและแก้ใขปัญหา สัมพันธภาพ
  3. สุข ภูมิใจตนเอง พอใจชีวิต สุขสงบทางใจ

 

การเสริมสร้างอี.คิว.

  1. การส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน(ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ สังคม จริยธรรม)
  2. ความมั่นคงทางอารมณ์
  3. การควบคุมตนเอง(self control/discipline)
  4. การรู้จักตนเอง/ประเมินและพัฒนาตน(self awareness /development)
  5. วงจรความสุขในการดำเนินชีวิต(pleasure circuit)
  6. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธ์(achivement motivation)
  7. ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (self esteem)
  8. การใช้สมองซีกขวา
  9. การฝึกทักษะสังคม(social skills training)
  10. การมีแบบอย่างที่ดี(role model)

 

ตัวอย่างกิจกรรม

  1. กีฬา สร้างความแข็งแรง สนุกสนาน สังคม สารสุข
  2. มุมสงบ  จิตใจได้พัก
  3. สมาธิ การรู้จักตนเอง
  4. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การผ่อนคลายตนเอง
  5. จินตนาการ การสร้างความสุขจากความคิด
  6. คิดดี การมีความคิดที่ดี
  7. การสร้างสรรค์ การภูมิใจในความคิดของตนเอง
  8. สังเกตธรรมชาติ การรู้จักสุนทรีย์กับสิ่งแวดล้อม
  9. มองตนเองดี
  10. มองผู้อื่นดี
  11. ศิลปะ
  12. ดนตรี
  13. ตั้งเป้าหมายและบันทึก
  14. วางแผนงาน
  15. งานอดิเรก
  16. การเผชิญปัญหาและความกลัว

 

<ห้องรับแขก

  คลินิคจิต-ประสาท 563 ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล  เขตดุสิต  กทม 10300  โทร. 0-2243-2142  0-2668-9435

   ส่งเมล์ถึง panom@psyclin.co.th พร้อมด้วยข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเว็บไซท์นี้
   ปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุด:21/05/50