บริษัทคลินิคจิต-ประสาท

 ห้องรับแขก

กลับไป ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชและปัญหาพฤติกรรม      

 

 

 

คู่มือ กลุ่มบำบัดแบบช่วยเหลือกันเอง

Self-Help Group

ผศ. นพ. พนม  เกตุมาน  ภาควิชาจิตเวชศาสตร์

 

ทฤษฎีพื้นฐาน

Cognitive-behavior therapy แก้ไขความคิด ความเชื่อเก่าที่ไม่ถูกต้อง การแก้ไขปัญหาอารมณ์ ความเครียด

Group counseling  การให้คำปรึกษาโดยใช้เทคนิคกลุ่ม  การให้ความรู้แนวทางการปฏิบัติตัว เรียนรู้วิธีการปรับตัวจากผู้อื่น

Self- help group การให้กลุ่มช่วยเหลือกันเอง เห็นอกเห็นใจ เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น ฝึกทักษะสังคมที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับตัว

 

เป้าหมาย

1.        ลดอาการทางจิตใจ-อารมณ์ เช่น ความเครียด  ซึมเศร้า

2.        มีความรู้เกี่ยวกับโรคที่ตนเองเป็นมากขึ้น(สาเหตุ การรักษา การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง)

3.        มีทักษะในการปรับตัวมากขึ้น

4.        อาการทางร่างกายดีขึ้น

5.        เพิ่มคุณภาพชีวิต (quality of life)                           

วัตถุประสงค์

1.     ปัญหาทางจิตใจ-อารมณ์ลดลง ร้อยละ 30 (ความเครียด ซึมเศร้า )

2.     บอกความรู้เกี่ยวกับโรคที่เป็น (สาเหตุของโรค  การรักษา การปฏิบัติตัว) ได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30

       3.   พฤติกรรมการปรับตัว ดีขึ้น ร้อยละ 30 (การร่วมมือรักษา การกินยา การมาตามนัด การทำงาน) 

4.     อาการทางร่างกายดีขึ้น ร้อยละ 30  (อาการที่เป็นปัญหาลดลง  การกลับเป็นซ้ำลดลง)

5.     คุณภาพชีวิตดีเพิ่มขึ้นร้อยละ 30  (ความรู้สึกดีต่อตนเอง  ลดปมด้อย 

 

วิธีการ

          ใช้หลักการของกลุ่มบำบัดขนาดเล็ก  ที่มีลักษณะกลุ่มช่วยเหลือกันเอง  แบบ self-help group

การจัดกลุ่ม 

          คัดเลือกผู้ป่วยที่เป็นปัญหาคล้ายคลึงกัน  เช่นป่วยเป็นโรคเดียวกัน  โดยมี เพศ  อายุ  อาการ  ระยะเวลาที่รักษาที่แตกต่างกัน  จำนวน  12-15  คน 

เวลา

          พบกันสัปดาห์ละ  1  ครั้ง  เป็นเวลา  8  สัปดาห์(รวม 8 ครั้ง)  ครั้งๆละ  90  นาที 

 

ผู้รักษา  ในกลุ่มมีผู้นำกลุ่ม  1 คน ผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม 1 คน

1. ผู้นำกลุ่ม( therapist)   1  คน

คุณสมบัติของผู้นำกลุ่ม 

  1. มีความรู้ เรื่องโรคที่ผู้ป่วยเป็น
  2. มีความรู้ และทักษะ  เรื่อง  กลุ่มบำบัดขนาดเล็ก  (small group psychotherapy  or self help group)
  3. มีทัศนคติดีต่อการรักษาแบบกลุ่ม แบบองค์รวม

บทบาทของผู้นำกลุ่ม 

·        เริ่มต้นกลุ่ม

bulletดำเนินการ  กิจกรรมกลุ่มให้เป็นไปตามที่วางแผนไว้
bullet กระตุ้นให้สมาชิกกลุ่มแสดงออก  มีส่วนร่วมในกลุ่มอย่างถ้วนหน้ากัน
bullet ยับยั้งการแสดงออกของสมาชิกกลุ่มบางคนที่แสดงออกมากเกินไป  ไม่ตรงประเด็น  หรือไม่เหมาะสม
bullet เปิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่มคนที่ไม่กล้า  ไม่มีโอกาส  ได้แสดงออก
bullet รักษากฎกติกาของกลุ่ม
bullet ดำเนินกลุ่มให้เป็นไปตามเวลาที่วางแผนไว้
bullet ยุติกลุ่มตรงตามเวลา

2. ผู้ช่วยนำกลุ่ม(co-therapist)  1  คน

คุณสมบัติของผู้ช่วยนำกลุ่ม  เช่นเดียวกับผู้นำกลุ่ม

บทบาทของผู้ช่วยนำกลุ่ม

bullet ช่วยผู้นำกลุ่ม  ดำเนินกิจกรรมตามแผนการที่วางไว้
bullet สังเกตความเป็นไปของกลุ่ม  โดยเฉพาะในบางคนที่ผู้นำกลุ่มไม่เห็น(เช่น คนที่นั่งข้างๆผู้นำกลุ่ม  หรือคนที่ไม่ได้แสดงออก)

·        ในขณะที่ผู้นำกลุ่มกำลังสนใจฟังสมาชิกบางคน  อาจมีปฏิกิริยาจากสมาชิกอีกคน  ที่ผู้นำกลุ่มไม่เห็น  แต่มีความสำคัญ  อาจขออนุญาตผู้นำกลุ่มแทรก  หรือเสริมในเรื่องที่คิดว่ามีความสำคัญต่อการเรียนรู้ในกลุ่ม

การคัดเลือกผู้ป่วย

  1. เพศชาย หรือ หญิง  จำนวนใกล้เคียงกัน
  2. อายุ  ควรจัดตามช่วงอายุ  ช่วงไม่ปนกัน คือ กลุ่มเด็ก อายุ 6-12 ปี  กลุ่มวัยรุ่น 12-18 ปี และกลุ่มผู้ใหญ่อายุ 18 ปีขึ้นไป  (เนื่องจากการจัดกิจกรรมอาจแตกต่างกัน)
  3. มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น  สามารถสื่อสาร  แสดงความคิดเห็นได้
  4. ไม่มีอาการโรคจิต  หรือหวาดระแวง
  5. ไม่มีอาการทางร่างกายรุนแรงมากจนเป็นอุปสรรคต่อการร่วมกลุ่ม

 การเตรียมผู้ป่วย

  1. อธิบายให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์ของการรักษาแบบกลุ่มบำบัด
  2. อธิบายลักษณะของกลุ่ม  ขั้นตอนการรักษาแบบกลุ่ม   วันเวลาที่จะนัดพบกัน  จำนวนครั้งของการรักษา   บทบาทของสมาชิกกลุ่ม  กฎกติกาของกลุ่ม   การเก็บรักษาความลับของกันและกัน   การติดตามต่อเนื่องหลังยุติกลุ่ม  ค่ารักษา  ค่ารถ  การอำนวยความสะดวก  เปิดโอกาสให้ซักถาม
  3. สอบถามความสมัครใจ  ในกรณีที่เข้าร่วมกลุ่ม  ให้นัดหมายวันมาเข้ากลุ่มครั้งแรก  การเตรียมตัวมากลุ่ม  การแต่งกาย  ในกรณีที่ไม่สมัครใจเข้ากลุ่ม  ให้ความมั่นใจว่า  การรักษาที่จะได้รับจะไม่แตกต่างจากการรักษาแบบมาตรฐาน

การประชุมก่อนและหลังกลุ่ม

          1 การประชุมก่อนเริ่มกลุ่ม (breifing) ซักซ้อมวัตถุประสงค์ กระบวนการ กิจกรรม  บทบาทของผู้นำกลุ่มและผู้ช่วย

          2 การประชุมสรุปท้ายกลุ่ม (debreifing) ตรวจสอบความสมบูรณ์ถูกต้อง ของกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์แต่ละครั้ง แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น  ข้อดี และโอกาสพัฒนาของผู้นำกลุ่มและกิจกรรมที่จบลง ข้อดีและโอกาสพัฒนาของสมาชิกกลุ่มแต่ละคน

การประเมิน

การประเมินก่อนทำกลุ่ม  (ทำก่อนเริ่มกลุ่มครั้งแรก)  ใช้เวลาประมาณ  30  นาที

  1. ตอบแบบสอบถาม  ความเครียด  10  นาที
  2. ตอบแบบสอบถามอื่นๆ  20  นาที

การประเมินหลังทำกลุ่มเสร็จสิ้น(ครบ 8 ครั้ง)  มี 3 ครั้งใช้เวลาครั้งละประมาณ  30  นาที

    1. ตอบแบบสอบถาม  ความเครียด  10  นาที
    2. ตอบแบบสอบถามอื่นๆ  20  นาที

ครั้งที่1   ทำเมื่อจบกลุ่มครั้งสุดท้าย  ทันที 

ครั้งที่ 2  หลังจากยุติกลุ่ม   8  สัปดาห์

ครั้งที่  3  หลังจากยุติกลุ่ม  24  สัปดาห์

การประเมินท้ายกลุ่มแต่ละครั้ง  

  1. แบบสอบถาม  ความพึงพอใจในการทำกิจกรรมในกลุ่ม ( 1 นาที) เป้าหมาย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ 80
  2. แบบประเมินความสมบูรณ์ของกิจกรรมตามวัตถุประสงค์  (ประเมินตนเอง และ ประเมินโดยผู้สังเกตการณ์ ใช้เวลานอกกลุ่ม 5 นาที) เป้าหมาย ร้อยละ 80

 

ตารางกลุ่มบำบัด

 

ครั้งที่  1

วัตถุประสงค์

  1. ผู้ป่วยรู้จักกัน  มีความรู้สึกผ่อนคลาย
  2. ผู้ป่วยมีทักษะในการแสดงออก  และเปิดเผยตัวเอง  ต่อผู้อื่น  มีส่วนร่วมในกลุ่ม 
  3. ผู้ป่วยมีความเข้าใจวัตถุประสงค์ของกลุ่ม  รู้ขั้นตอนการทำกลุ่ม  การปฏิบัติตัวในกลุ่ม
  4. ผู้ป่วยสร้างเป้าหมายร่วมกัน ในการพบเพื่อช่วยเหลือกัน
  5. มีทัศนคติที่ดี  อยากมาร่วมกิจกรรมกลุ่มในครั้งต่อๆไป

กิจกรรม

  1. แนะนำตัวผู้นำกลุ่ม  ผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม สถานที่  การบันทึกวิดีโอ   10  นาที
  2. ผู้นำกลุ่ม  ให้ผู้ป่วยแนะนำตัว  (แนะนำตัวเอง  หรือให้เพื่อนช่วยแนะนำเพื่อน  หรือใช้เกม  ต่างๆเช่นแลกเปลี่ยนนามบัตร  เกมกระซิบ  เกมลมเพลมพัด  เกมปลาเล็กปลาใหญ่ )   30  นาที
  3. แนะนำวัตถุประสงค์ของกลุ่ม  ตามที่ทีมผู้รักษาวางแผนไว้(รวมทั้งเรื่องการวิจัย  และการติดตามผลการรักษาหลังจากยุติกลุ่ม)   5  นาที
  4. ผู้นำกระตุ้นให้ทุกคนแสดงออก(Round turn)  ขอความคิดเห็นและความคาดหวัง  ของผู้ป่วยแต่ละคน    30  นาที
  5. สรุปความต้องการของกลุ่ม    5  นาที
  6. แนะนำกติกาของกลุ่ม  (ดูภาคผนวก)  5  นาที
  7. ถามตอบปัญหา  4  นาที
  8. นัดหมายพบกันในกลุ่มครั้งต่อไป  1  นาที

ภาคผนวก

กติกาของกลุ่ม

1.  การบริหารเวลา   (เน้นเรื่องการตรงต่อเวลา  ขอให้สมาชิกมาล่วงหน้าก่อนเวลาเริ่มกลุ่มประมาณ 5-10  นาที  พบกันที่นั่งรอตามนัดหมาย  การเริ่มและเลิกกลุ่มจะตรงเวลา   ผู้นำกลุ่มและผู้ช่วยคอยกำกับให้เป็นไปตามเวลา  เวลาในกลุ่มมีค่ามาก  ขอให้ใช้อย่างคุ้มค่า  เช่น  ก่อนเริ่มกลุ่มควรเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย  )  

2.  การเข้าร่วมให้ครบ  ขอให้ช่วยกันจัดตารางเวลาให้สามารถมาได้ทุกครั้ง  การพบกันครบทุกคนจะช่วยให้การรักษาแบบกลุ่มได้ผลดี  ถ้าติดธุระจำเป็นจริงๆ  ขอให้แจ้งกับผู้นำกลุ่มล่วงหน้า  หรือเร็วที่สุด 

3.  การแสดงออกในกลุ่ม  ขอให้ทุกคนช่วยกันแสดงความคิด  ความรู้สึกร่วมกัน  อย่างทั่วถึง  พูดทีละคน  ใครต้องการพูดขอให้ส่งสัญญาณ  เช่นยกมือขึ้น  ผู้นำกลุ่มจะช่วยกำกับเรื่องนี้  ขอให้พูดให้ทุกคนฟัง  ไม่พูดกันเป็นกลุ่มย่อยๆ  ควรปิดโทรศัพท์มือถือ  ไม่ใช้โทรศัพท์ระหว่างที่อยู่ในกลุ่ม

4.  การเก็บความลับ  ไม่นำเรื่องส่วนตัวของเพื่อนสมาชิกด้วยกันไปเปิดเผยนอกกลุ่ม  ไม่พบกันนอกกลุ่ม  ถ้าบังเอิญพบกันขอให้นำมาแจ้งในกลุ่มในการพบกันครั้งต่อไป 

 

แบบประเมินความสมบูรณ์ของกิจกรรมตามวัตถุประสงค์  ครั้งที่ 1

 

กิจกรรม

ทำ

ไม่ได้ทำ

แนะนำตัวผู้นำกลุ่ม  ผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม สถานที่  การบันทึกวิดีโอ  

 

 

ผู้นำกลุ่ม  ให้ผู้ป่วยแนะนำตัว 

 

 

แนะนำวัตถุประสงค์ของกลุ่ม 

 

 

ผู้นำกระตุ้นให้ทุกคนแสดงออก ขอความคิดเห็นและความคาดหวัง 

 

 

สรุปความต้องการของกลุ่ม

 

 

แนะนำกติกาของกลุ่ม 

 

 

ถามตอบปัญหา 

 

 

นัดหมายพบกันในกลุ่มครั้งต่อไป 

 

 

 

 

 

 

 

ครั้งที่  2

วัตถุประสงค์

  1. ผู้ป่วยรู้จักกันมากขึ้น  มีความรู้สึกผ่อนคลาย
  2. ผู้ป่วยมีทักษะในการแสดงออก  และเปิดเผยตัวเอง  ต่อผู้อื่น
  3. ผู้ป่วยมีความความสัมพันธ์ในกลุ่มดี  เกิด ความผูกพัน(cohesion)
  4. ผู้ป่วยมีความรู้สึกเห็นใจผู้อื่น  รู้สึกดีที่มีเพื่อนที่ประสบชะตากรรมเดียวกัน  อยากช่วยเหลือกัน
  5. ผู้ป่วยได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาตนเอง    จากผู้อื่น
  6. มีทัศนคติที่ดี  อยากมาร่วมกิจกรรมกลุ่ม

กิจกรรม

1.    ผู้นำกลุ่มให้ผู้ป่วยเล่าปัญหาของแต่ละคน(Round turn)  40  นาที

2.    ผู้นำกลุ่มขอให้สมาชิกกลุ่มช่วยกัน  ให้คำแนะนำ เพื่อนสมาชิกด้วยกันเอง  40  นาที

3.    ผู้นำกลุ่มส่งเสริมให้กลุ่มเห็นการแก้ปัญหาที่ดี  5  นาที

4.    ผู้นำกลุ่มสรุปการเรียนรู้ของกลุ่ม  ในครั้งนี้  2  นาที

5.    ถามตอบปัญหา   2  นาที

6.    นัดหมายพบกันในกลุ่มครั้งต่อไป  1  นาที

การประชุมหลังกลุ่ม (เฉพาะผู้รักษา  และทีม  รวมทั้งผู้สังเกตการณ์)

  1. สรุปข้อดีของการเรียนรู้ในกลุ่ม
  2. สรุปการเรียนรู้ที่ไม่ถูกต้อง  พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง
  3. ระดมสมองช่วยคิดหาวิธีการแก้ไข ความคิดที่ไม่ถูกต้อง(cognitive  errors)  ความเชื่อที่ผิดๆ  การปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง(เช่นการกินยาเอง  การหยุดการรักษา) หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม  ปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ได้ในกลุ่มในวันนั้น  เพื่อหาทางแก้ไขในกลุ่มครั้งที่ 3

 

แบบประเมินความสมบูรณ์ของกิจกรรมตามวัตถุประสงค์  ครั้งที่ 2

 

กิจกรรม

ทำ

ไม่ได้ทำ

ผู้นำกลุ่มให้ผู้ป่วยเล่าปัญหาของแต่ละคน

 

 

ผู้นำกลุ่มขอให้สมาชิกกลุ่มช่วยกัน  ให้คำแนะนำ เพื่อนสมาชิกด้วยกันเอง 

 

 

ผู้นำกลุ่มส่งเสริมให้กลุ่มเห็นการแก้ปัญหาที่ดี 

 

 

ผู้นำกลุ่มสรุปการเรียนรู้ของกลุ่ม  ในครั้งนี้ 

 

 

ถามตอบปัญหา 

 

 

นัดหมายพบกันในกลุ่มครั้งต่อไป 

 

 

 

 

 

 

 

 

ครั้งที่  3

วัตถุประสงค์

  1. ผู้ป่วยรู้จักกันมากขึ้น  มีความรู้สึกผ่อนคลาย
  2. ผู้ป่วยมีทักษะในการแสดงออก  และเปิดเผยตัวเอง  ต่อผู้อื่น
  3. ผู้ป่วยมีความความสัมพันธ์ในกลุ่มดี  เกิด ความผูกพัน(cohesion)
  4. ผู้ป่วยมีความรู้สึกเห็นใจผู้อื่น  รู้สึกดีที่มีเพื่อนที่ประสบชะตากรรมเดียวกัน  อยากช่วยเหลือกัน
  5. ผู้ป่วยได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาตนเอง    จากผู้อื่น
  6. มีทัศนคติที่ดี  อยากมาร่วมกิจกรรมกลุ่ม

กิจกรรม

    1. ผู้นำกลุ่มให้ผู้ป่วยเล่าปัญหาของแต่ละคน(Round turn)  40  นาที
    2. ผู้นำกลุ่มขอให้สมาชิกกลุ่มช่วยกัน  ให้คำแนะนำ เพื่อนสมาชิกด้วยกันเอง  40  นาที
    3. ผู้นำกลุ่มส่งเสริมให้กลุ่มเห็นการแก้ปัญหาที่ดี  5  นาที
    4. ผู้นำกลุ่มสรุปการเรียนรู้ของกลุ่ม  ในครั้งนี้  2  นาที
    5. ถามตอบปัญหา   2  นาที
    6. นัดหมายพบกันในกลุ่มครั้งต่อไป  1  นาที

การประเมิน  การสังเกตพฤติกรรมสมาชิกกลุ่ม

การประชุมหลังกลุ่ม (เฉพาะผู้รักษา  และทีม  รวมทั้งผู้สังเกตการณ์)

  1. สรุปข้อดีของการเรียนรู้ในกลุ่ม
  2. สรุปการเรียนรู้ที่ไม่ถูกต้อง  พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง
  3. ระดมสมองช่วยคิดหาวิธีการแก้ไข ความคิดที่ไม่ถูกต้อง(cognitive  errors)  ความเชื่อที่ผิดๆ  การปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม  ปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ได้ในกลุ่มในวันนั้น  เพื่อหาทางแก้ไขในกลุ่มครั้งที่ 4

 

แบบประเมินความสมบูรณ์ของกิจกรรมตามวัตถุประสงค์  ครั้งที่ 3

 

กิจกรรม

ทำ

ไม่ได้ทำ

ผู้นำกลุ่มให้ผู้ป่วยเล่าปัญหาของแต่ละคน

 

 

ผู้นำกลุ่มขอให้สมาชิกกลุ่มช่วยกัน  ให้คำแนะนำ เพื่อนสมาชิกด้วยกันเอง 

 

 

ผู้นำกลุ่มส่งเสริมให้กลุ่มเห็นการแก้ปัญหาที่ดี 

 

 

ผู้นำกลุ่มสรุปการเรียนรู้ของกลุ่ม  ในครั้งนี้ 

 

 

ถามตอบปัญหา 

 

 

นัดหมายพบกันในกลุ่มครั้งต่อไป 

 

 

 

 

 

 

ครั้งที่  4

วัตถุประสงค์

  1. ผู้ป่วยมีทักษะในการแสดงออก  และเปิดเผยปัญหาตนเอง  เสนอทางแก้ไขปัญหาผู้อื่น
  2. ผู้ป่วยมีความความสัมพันธ์ในกลุ่มดี  เกิด ความผูกพัน(cohesion)
  3. ผู้ป่วยมีความรู้สึกเห็นใจผู้อื่น  รู้สึกดีที่มีเพื่อนที่ประสบชะตากรรมเดียวกัน  อยากช่วยเหลือกัน
  4. ผู้ป่วยได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาตนเอง    จากผู้อื่น
  5. มีทัศนคติที่ดี  อยากมาร่วมกิจกรรมกลุ่ม

กิจกรรม

1.    ผู้นำกลุ่มขออาสาสมัครสรุป การเรียนรู้ในกลุ่มครั้งที่ 3    5  นาที

2.    Round turn  ผู้นำกลุ่มให้ผู้ป่วยเล่าปัญหาของแต่ละคน(ต่อ)     30  นาที

3.    ผู้นำกลุ่มขอให้สมาชิกกลุ่มช่วยกัน  ให้คำแนะนำ เพื่อนสมาชิกด้วยกันเอง(ต่อ)  40  นาที

4.    ผู้นำกลุ่มสรุป   และส่งเสริมให้กลุ่มเห็นการแก้ปัญหาที่ดี  10  นาที

5.    ผู้นำกลุ่ม  ขออาสาสมัครสรุปการเรียนรู้ของกลุ่ม  ในครั้งนี้  2  นาที 

6.    ถามตอบ  2 นาที

7.    นัดหมายพบกันในกลุ่มครั้งต่อไป  1  นาที

 

การประชุมหลังกลุ่ม (เฉพาะผู้รักษา  และทีม  รวมทั้งผู้สังเกตการณ์)

  1. สรุปข้อดีของการเรียนรู้ในกลุ่ม
  2. สรุปการเรียนรู้ที่ไม่ถูกต้อง  พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง
  3. ระดมสมองช่วยคิดหาวิธีการแก้ไข ความคิดที่ไม่ถูกต้อง(cognitive  errors)  ความเชื่อที่ผิดๆ  การปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม  ปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ได้ในกลุ่มในวันนั้น  เพื่อหาทางแก้ไขในกลุ่มครั้งที่ 5

แบบประเมินความสมบูรณ์ของกิจกรรมตามวัตถุประสงค์  ครั้งที่ 4

 

กิจกรรม

ทำ

ไม่ได้ทำ

ผู้นำกลุ่มขออาสาสมัครสรุป การเรียนรู้ในกลุ่มครั้งที่ 3   

 

 

Round turn  ผู้นำกลุ่มให้ผู้ป่วยเล่าปัญหาของแต่ละคน

 

 

ผู้นำกลุ่มขอให้สมาชิกกลุ่มช่วยกัน  ให้คำแนะนำ เพื่อนสมาชิกด้วยกันเอง 

 

 

ผู้นำกลุ่มสรุป   และส่งเสริมให้กลุ่มเห็นการแก้ปัญหาที่ดี 

 

 

ผู้นำกลุ่ม  ขออาสาสมัครสรุปการเรียนรู้ของกลุ่ม  ในครั้งนี้ 

 

 

ถามตอบ 

 

 

นัดหมายพบกันในกลุ่มครั้งต่อไป 

 

 

 

 

ครั้งที่  5

วัตถุประสงค์

  1. ผู้ป่วยมีความความสัมพันธ์ในกลุ่มดี  เกิด ความผูกพัน(cohesion)
  2. ผู้ป่วยได้ความรู้เรื่อง โรคที่เป็น  ปฏิกิริยาทางจิตใจสังคมที่เกิดขึ้นร่วมด้วย
  3. มีทัศนคติที่ดี  อยากมาร่วมกิจกรรมกลุ่ม

กิจกรรม

1.    ผู้นำกลุ่มให้สมาชิกสรุปการเรียนรู้ในครั้งที่  4     5  นาที

2.    ผู้นำกลุ่มสรุปความเชื่อที่ผิดๆ  ที่ได้จากกลุ่ม  ให้กลุ่มช่วยกันแก้ไข  และส่งเสริมวิธีการที่ดี  10  นาที

3.    ผู้นำกลุ่มให้ความรู้  เกี่ยวกับโรคที่เป็น  และความสัมพันธ์ระหว่างอาการและความเครียด  40  นาที  

4.    ถามตอบ  15  นาที

5.    ผู้นำกลุ่มให้สมาชิกกลุ่ม  1  คน  เป็นตัวแทนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้  4  นาที

6.    นัดหมายพบกันในกลุ่มครั้งต่อไป  1  นาที

การประชุมหลังกลุ่ม (เฉพาะผู้รักษา  และทีม  รวมทั้งผู้สังเกตการณ์)

  1. สรุปสิ่งที่กลุ่มผู้ป่วยยังขาด  ด้านความรู้
  2. สิ่งทีผู้ป่วยยังขาดด้านทักษะ  เช่น  การเผชิญความเครียด  การผ่อนคลายตนเอง  การแก้ไขปัญหา

 

แบบประเมินความสมบูรณ์ของกิจกรรมตามวัตถุประสงค์  ครั้งที่ 5

 

กิจกรรม

ทำ

ไม่ได้ทำ

ผู้นำกลุ่มให้สมาชิกสรุปการเรียนรู้ในครั้งที่ 4     

 

 

 

ผู้นำกลุ่มสรุปความเชื่อที่ผิดๆ  ที่ได้จากกลุ่ม ให้กลุ่มช่วยกันแก้ไข  และส่งเสริมวิธีการที่ดี 

 

 

ผู้นำกลุ่มให้ความรู้  เกี่ยวกับโรคที่เป็น  40  นาที   และความสัมพันธ์ระหว่างอาการและความเครียด

 

 

ถามตอบ 

 

 

ผู้นำกลุ่มให้สมาชิกกลุ่ม  1  คน  เป็นตัวแทนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

 

 

นัดหมายพบกันในกลุ่มครั้งต่อไป 

 

 

 

 

ครั้งที่ 6

วัตถุประสงค์

  1. ผู้ป่วยมีความสามารถบอกความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด  กับอาการของโรค
  2. ผู้ป่วยสามารถหาสาเหตุของความเครียดของตนเองได้
  3. ผู้ป่วยสามารถจัดการกับความเครียดของตนเองได้

วิธีการ

  1. ผู้นำกลุ่มให้สมาชิก 1 คนอาสาสมัครสรุปผลการเรียนรู้ในกลุ่มครั้งที่ 5     5นาที
  2. ผู้นำกลุ่มให้สมาชิกกลุ่มเล่าประสบการณ์ของตนเอง  เรื่องความเครียด  สาเหตุของความเครียด  ผลที่เกิดขึ้น  โดยเฉพาะกับอาการทางกาย  และการแก้ไขความเครียดนั้นเท่าที่เคยทำมา  15  นาที
  3. ผู้นำกลุ่มสรุปวิธีการจัดการกับความเครียดของผู้ป่วยด้วยกันเอง  ชมเชยวิธีการที่ถูกต้อง  5  นาที
  4. ผู้นำกลุ่มสรุปให้กลุ่มเห็นความสำคัญของการจัดการกับอารมณ์  5  นาที
  5. ผู้นำกลุ่มสอนให้สมาชิกกลุ่มปฏิบัติ  ด้วยการคลายเครียดด้วยการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  30  นาที
  6. สอบถามความรู้สึกหลังการปฏิบัติ    5  นาที
  7. ให้กลุ่มช่วยคิดเทคนิคคลายเครียดด้วยวิธีอื่น  15  นาที
  8. ผู้นำกลุ่มสรุปเทคนิควิธีการคลายเครียด   และมอบหมายการบ้าน  ให้บันทึกการปฏิบัติด้วยการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  ทุกวันๆละ  30  นาที  ในช่วง 7  วันต่อไป     5  นาที
  9. ผู้นำกลุ่มให้สมาชิกสรุป  4 นาที
  10. นัดหมายครั้งต่อไป  1  นาที

 การประชุมหลังกลุ่ม (เฉพาะผู้รักษา  และทีม  รวมทั้งผู้สังเกตการณ์)

  1. สรุปข้อดีของการเรียนรู้ในกลุ่ม
  2. สรุปการเรียนรู้ที่ไม่ถูกต้อง  พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง

 

แบบประเมินความสมบูรณ์ของกิจกรรมตามวัตถุประสงค์  ครั้งที่ 6

 

กิจกรรม

ทำ

ไม่ได้ทำ

ผู้นำกลุ่มให้สมาชิก 1 คนอาสาสมัครสรุปผลการเรียนรู้ในกลุ่มครั้งที่ 5

ผู้นำกลุ่มให้สมาชิกเล่าประสบการณ์ของตนเอง  เรื่องความเครียด สาเหตุของความเครียด  ผลที่เกิดขึ้น  โดยเฉพาะกับอาการทางกาย  และการแก้ไขความเครียดนั้นเท่าที่เคยทำมา 

 

 

ผู้นำกลุ่มสรุปวิธีการจัดการกับความเครียดของผู้ป่วยด้วยกันเอง  ชมเชยวิธีการที่ถูกต้อง 

 

 

ผู้นำกลุ่มสรุปให้กลุ่มเห็นความสำคัญของการจัดการกับอารมณ์

 

 

ผู้นำกลุ่มสอนให้สมาชิกกลุ่มปฏิบัติ  ด้วยการคลายเครียดด้วยการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

 

 

สอบถามความรู้สึกหลังการปฏิบัติ

 

 

ให้กลุ่มช่วยคิดเทคนิคคลายเครียดด้วยวิธีอื่น

 

 

ผู้นำกลุ่มสรุปเทคนิควิธีการคลายเครียด   และมอบหมายการบ้าน  ให้บันทึกการปฏิบัติด้วยการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  ทุกวันๆละ  30  นาที  ในช่วง 7  วันต่อไป 

 

 

ผู้นำกลุ่มให้สมาชิกสรุป 

 

 

นัดหมายครั้งต่อไป 

 

 

 

 

ครั้งที่  7

วัตถุประสงค์

1.    ผู้ป่วยมีทักษะคลายความเครียดของตนเองได้ด้วยการฝึกสมาธิ(concentration  meditation)

2.    ผู้ป่วยมีความรู้เรื่องการใช้ดนตรีเพื่อคลายเครียด

วิธีการ

1.    ผู้นำกลุ่มให้สมาชิก 1 คนอาสาสมัครสรุปผลการเรียนรู้ในกลุ่มครั้งที่ 6     5 นาที

2.    สมาชิกกลุ่มนำเสนอผลงาน  การบ้านการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  ใน  7  วันที่ผ่านมา  ผู้นำกลุ่มชมเชยผู้ที่ทำได้มาก  ให้เป็นตัวอย่างของกลุ่ม  15  นาที

3.    ผู้นำกลุ่มให้สมาชิกกลุ่มเล่าประสบการณ์ของตนเอง  ในการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ   เท่าที่ทำมา   ปัญหาอุปสรรคต่างๆ   15  นาที

4.    ผู้นำกลุ่มสอนให้สมาชิกกลุ่มฟังเพลงที่ผ่อนคลาย   10  นาที

5.    ผู้นำกลุ่มสอนให้สมาชิกกลุ่มปฏิบัติสมาธิ   ด้วยการกำหนดลมหายใจ    30  นาที

6.    สอบถามความรู้สึกหลังการปฏิบัติ    5  นาที

7.    ผู้นำกลุ่มสรุปเทคนิควิธีการคลายเครียด   ทั้ง  2  วิธี    และมอบหมายการบ้าน  ให้บันทึกการปฏิบัติสมาธิทุกวัน   วันละ  30  นาที   ในช่วง 7  วันต่อไป     5  นาที

8.    ผู้นำกลุ่มให้สมาชิกสรุป  4 นาที

9.    นัดหมายครั้งต่อไป  1  นาที

การประชุมหลังกลุ่ม (เฉพาะผู้รักษา  และทีม  รวมทั้งผู้สังเกตการณ์)

  1. สรุปข้อดีของการเรียนรู้ในกลุ่ม
  2. สรุปการเรียนรู้ที่ไม่ถูกต้อง  พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง

 

แบบประเมินความสมบูรณ์ของกิจกรรมตามวัตถุประสงค์  ครั้งที่ 7

กิจกรรม

ทำ

ไม่ได้ทำ

ผู้นำกลุ่มให้สมาชิก 1 คนอาสาสมัครสรุปผลการเรียนรู้ในกลุ่มครั้งที่ 6    

 

 

สมาชิกกลุ่มนำเสนอผลงาน  การบ้านการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  ใน  7  วันที่ผ่านมา  ผู้นำกลุ่มชมเชยผู้ที่ทำได้มาก  ให้เป็นตัวอย่างของกลุ่ม 

 

 

ผู้นำกลุ่มให้สมาชิกกลุ่มเล่าประสบการณ์ของตนเอง  ในการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ   เท่าที่ทำมา   ปัญหาอุปสรรคต่างๆ  

 

 

ผู้นำกลุ่มสอนให้สมาชิกกลุ่มฟังเพลงที่ผ่อนคลาย  

 

 

ผู้นำกลุ่มสอนให้สมาชิกกลุ่มปฏิบัติสมาธิ   ด้วยการกำหนดลมหายใจ   

 

 

สอบถามความรู้สึกหลังการปฏิบัติ

 

 

ผู้นำกลุ่มสรุปเทคนิควิธีการคลายเครียด   ทั้ง  2  วิธี    และมอบหมายการบ้าน  ให้บันทึกการปฏิบัติสมาธิทุกวัน   วันละ  30  นาที   ในช่วง 7  วันต่อไป

 

 

ผู้นำกลุ่มให้สมาชิกสรุป

 

 

นัดหมายครั้งต่อไป

 

 

 

 

ครั้งที่  8

วัตถุประสงค์

  1. ผู้ป่วยรวบรวมเทคนิควิธีการต่างที่ได้เรียนรู้มาทั้งหมด 7  ครั้ง  เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
  2. เตรียมตัวให้ผู้ป่วยหยุดการรักษาแบบกลุ่ม

วิธีการ

  1. ผู้นำกลุ่มขอเชิญอาสาสมัคร สรุปการเรียนรู้ในครั้งที่  7     5  นาที
  2. Round Turn ให้ทุกคนได้สรุปการเรียนรู้ที่ผ่านมา  7  ครั้ง  ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น  ความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้   การแก้ไขและป้องกันปัญหา  เมื่อไม่มีกลุ่มช่วยเหลือ 40  นาที
  3. ผู้นำกลุ่ม  และผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม  สรุป  และส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่มนำกลับไปปฏิบัติต่อในชีวิตประจำวัน15  นาที
  4. ถามตอบข้อสงสัย  20
  5. นัดหมายเพื่อติดตามและประเมิน  10  นาที

การประชุมหลังกลุ่ม (เฉพาะผู้รักษา  และทีม  รวมทั้งผู้สังเกตการณ์)

    1. สรุปข้อดีของการเรียนรู้ในกลุ่ม
    2. สรุปการเรียนรู้ที่ไม่ถูกต้อง  พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง

 

แบบประเมินความสมบูรณ์ของกิจกรรมตามวัตถุประสงค์  ครั้งที่ 8

กิจกรรม

ทำ

ไม่ได้ทำ

ผู้นำกลุ่มให้สมาชิก 1 คนอาสาสมัครสรุปผลการเรียนรู้ในกลุ่มครั้งทึ่ 7    

 

 

ทุกคนได้สรุปการเรียนรู้ที่ผ่านมา  7  ครั้ง  ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น  ความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้   การแก้ไขและป้องกันปัญหา  เมื่อไม่มีกลุ่มช่วยเหลือ

 

 

ผู้นำกลุ่ม  และผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม  สรุป  และส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่มนำกลับไปปฏิบัติต่อในชีวิตประจำวัน

 

 

ถามตอบข้อสงสัย 

 

 

นัดหมาย เพื่อติดตามและประเมิน 

 

 

 References

1.       Christophers E, Mrowietz U. Psoriasis. In: Irwin M, Freedberg M, Arthur Z, Eisen M, Klaus Wolff.MD F, editors. Fitzpatrick's Dermatology in General Medicine. 6 ed: McGRAW - HILL; 2003. p. 407-35.

2.       Griffiths CE, Richards HL. Psychological influences in psoriasis. Clin Exp Dermatol 2001;26(4):338-42.

3.    Fortune DG, Richards HL, Kirby B, Bowcock S, Main CJ, Griffiths CEM. A cognitive-behavioural symptom management programme as an adjunct in psoriasis therapy. Br J Dermatol 2002; 146: 458-65   

4.       Fortune DG, Richards HL, Griffiths CE, Main CJ. Targeting cognitive-behaviour therapy to patients' implicit model of psoriasis: results from a patient preference controlled trial. Br J Clin Psychol 2004;43(Pt 1):65-82.

5.       Seng TK, Nee TS. Group therapy: a useful and supportive treatment for psoriasis patients. Int J Dermatol 1997;36(2):110-2.

6.    O'Leary A, Schoor S, Lorig K, Holman HR. A cognitive-behavioural treatment for rheumatoid arthritis. Health Psychol 1998; 7: 527-44.

7.    Young LD, Anderson KO et al. Effect of psychological therapy on pain behaviour of rheumatoid arthritis patients: treatment outcome and six month follow-up. Arthritis Rheum 1987; 30: 1105-14.

8.    Papadopoulos L, Bor R, Legg C. Coping with the disfiguring effect of vitiligo: A preliminary investigation into the effects of cognitive-behavioral therapy. Br J Med Psychol 1999; 72: 385-96.    

ภาคผนวก

บันทึกการเข้ากลุ่ม

 

ชื่อ

1

2

3

4

5

6

7

8

รวม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                   

 

 

<ห้องรับแขก

  คลินิคจิต-ประสาท 563 ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล  เขตดุสิต  กทม 10300  โทร. 0-2243-2142  0-2668-9435

   ส่งเมล์ถึง panom@psyclin.co.th พร้อมด้วยข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเว็บไซท์นี้
   ปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุด:21/05/50