บริษัทคลินิคจิต-ประสาท

 ห้องรับแขก

กลับไป ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชและปัญหาพฤติกรรม      

 

 

 

การป้องกันและช่วยเหลือเด็กติดเกม

นพ  พนม  เกตุมาน  สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น  ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ 

 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยมหิดล

                ปัญหาเด็กติดเกม พบได้บ่อยในครอบครัวไทยปัจจุบันนี้  พ่อแม่หลายคนลำบากใจที่จะบังคับให้ลูกเลิกเล่นเกม  เด็กบางคนติดมากจนไม่สนใจการเรียน  ผลการเรียนตกลงมากๆ  หรือบางคนไม่ยอมไปโรงเรียน  ใช้เวลาเล่นเกมที่บ้านทั้งวัน  เวลาห้ามมากๆเด็กแอบหนีไปเล่นเกมที่ร้านเกมนอกบ้าน  บางคนเลยซื้อเกมให้เด็กเล่นที่บ้าน  เนื่องจากเกรงว่าเด็กจะไม่กลับบ้าน แต่กลับเป็นปัญหาต่อมาจากการเล่นเกมที่บ้านมากขึ้น  แพทย์และบุคลากรทางแพทย์ได้รับคำถามหรือการปรึกษาปัญหาเด็กติดเกมมากขึ้น  การช่วยเหลือเด็กติดเกมจึงเป็นความจำเป็นรีบด่วนระดับประเทศ  และถ้าสามารถป้องกันปัญหานี้ได้  จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

วัตถุประสงค์

1.       ป้องกันการติดเกมของเด็กและวัยรุ่น

2.       แก้ไขให้เด็กเลิกการเล่นเกมแบบ “ติดเกม” โดยเร็ว

3.       ป้องกันเด็กที่เลิกเล่นได้แล้ว  มิให้กลับไปติดเกมอีก

สภาพปัญหาการติดเกม 

ผลการสำรวจพ่อแม่ผู้ปกครองโดย NECTEC เมื่อ ปี 2000  พบว่าในครอบครัวไทย

·       มีคอมพิวเตอร์ต่ออินเตอร์เนต   27%

·       มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีอินเตอร์เนต 23%

·       ไม่มีคอมพิวเตอร์             50%

ในครอบครัวที่มีคอมพิวเตอร์  ร้อยละ 90  ของเด็กใช้งานเป็นประจำ  และใช้ในกิจกรรมดังนี้ 

·       เล่นเกม ร้อยละ 31  *

·       ทำการบ้าน ร้อยละ  20

·       ท่องเว็บเพื่อความสนุกสนาน  ร้อยละ 13

·       ใช้ซอฟแวร์เพื่อการศึกษา  ร้อยละ 11

·       ค้นข้อมูล  ร้อยละ   3  **

การดูแลของผู้ปกครอง  ในการใช้เน็ต

•ไม่ใกล้ชิดเวลาเด็กใช้เน็ต  ร้อยละ 45

•ไม่รู้ว่าลูกพบเหตุการณ์ไม่เหมาะสม  ร้อยละ 30

•ไม่เคยคุยกับลูกเรื่องเน็ต  ร้อยละ   20

สรุปสภาพปัญหาในขณะนี้

1.       เด็กและวัยรุ่นใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกมมาก  ใช้ในการศึกษาน้อย

2.       พ่อแม่ไม่มีเวลาดูแลการใช้คอมพิวเตอร์ของลูก

หลักสำคัญในการป้องกันหรือช่วยเหลือ

วิธีการป้องกันและแก้ไขเด็กติดเกม  ทำได้ด้วยการใช้วิธีการต่างๆ  ประกอบกัน  ดังนี้

1 รู้ความสนใจของลูกตลอดเวลา

                พ่อแม่ควรสนใจติดตามพฤติกรรมของลูก ความสนใจกิจกรรมต่างๆ รวมถึงความสนใจเรื่องเกม  ส่วนใหญ่เด็กจะเริ่มอยากเล่นตั้งแต่อายุ 6 ปีเป็นต้นไป  และจะมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงวัยรุ่นตอนปลาย  ซึ่งเด็กยังขาดการควบคุมตนเอง  เพื่อนมีอิทธิพลอย่างสูงที่จะเหนี่ยวนำให้สนใจ  อยากรู้อยากเห็น  อยากลอง  เพื่อจะมีเรื่องสนุกสนานพูดคุยกัน 

รู้จักเกมที่เด็กเล่น

                เกมที่เด็กเล่นอาจมีหลายประเภท  แตกต่างกันตามความสนใจ  ความชอบความถนัด  การพูดคุยเรื่องเกมกับลูกทำให้เข้าใจความชอบของเด็ก  ถ้าได้เห็นตอนเด็กเล่นเกมจะสามารถแยกแยะประเภทของเกมได้ ดังนี้

ประเภท เกมที่เด็กเล่น 

แยกตามลักษณะเครื่องเล่น

1.       เกมคอมพิวเตอร์  ที่บ้าน ร้านเกม อินเตอร์เนต

2.       เกมกด เกมเครื่อง มือถือ

3.       ตู้เกม 

ชนิดของเกม

                แยกตามลักษณะเนื้อหาของเกม  ได้แก่

1.       เกมสนุก  ไม่มีสาระ 

2.       เกมต่อสู้  มีการทำร้าย  ทำลาย เช่น Raknarok

3.       เกมยั่วยุทางเพศ  มีเนื้อหาทางเพศกระตุ้น ยั่วยุให้เกิดความรู้สึกทางเพศ 

4.       เกมสร้างสรรค์ ความคิด จินตนาการ วางแผน  เช่น  The Sims

5.       เกมวิชาการ ให้ความรู้  

รู้สาเหตุที่เด็กชอบ

                เด็กชอบเกมเนื่องจาก

1.       เกมทำให้เด็กสนุก ตื่นเต้น เร้าใจ ชวนติดตาม 

2.       เด็กรู้สึกทำอะไรสำเร็จ  ทำได้ 

3.       ได้แสดงออกเรื่องที่เก็บกด ก้าวร้าว เกมที่เป็นการต่อสู้ ทำร้ายร่างกายกัน  หรือทำลายล้าง

4.       มีรางวัล  แรงจูงใจเป็นแต้ม คะแนน  มีรางวัลจากผลงานทันที ไม่ต้องรอผลนาน

5.       ไม่ต้องใช้ทักษะสังคม (ที่เด็กบางคนขาดทักษะสังคม  ไม่กล้าแสดงออก  กังวลไม่มั่นใจตนเอง  จึงมักไม่เข้าสังคม)

6.       ลดหรือบดบังอาการทางจิตใจ/อารมณ์

7.       เหมาะกับนิสัย/บุคลิก/จุดอ่อนทางสังคม

4 รู้สาเหตุที่เด็กติดเกม

1.       เด็กขาดการควบคุมตนเอง

2.       พ่อแม่ไม่สนใจพฤติกรรมลูก  ไม่มีเวลากำกับให้เด็กทำตามกติกา

3.       ปล่อยให้เด็กมีอิสรเสรีมากเกินไป

4.       ไม่มีการตกลงกติกากันก่อน

5.       พ่อแม่ไม่ได้ช่วยให้เด็กมีกิจกรรมที่ดี และเหมาะสมกับจิตใจของเด็ก

6.       เด็กมีปัญหาทางอารมณ์ ใช้เกมช่วยให้อาการดีขึ้นชั่วคราว 

7.       สิ่งแวดล้อม/เพื่อน/ครอบครัว/ชุมชน

การค้นหาเด็กติดเกม

                การค้นหาเด็กติดเกม  ทำได้ด้วยการสังเกตพฤติกรรมเด็ก  ที่บ้าน  ที่โรงเรียน  นอกบ้านนอกโรงเรียน  การสอบถามพฤติกรรมของผู้ใกล้ชิด  การตอบแบบสอบถาม(ภาคผนวก)  การสัมภาษณ์  การสังเกตพฤติกรรม  ต่างๆต่อไปนี้

•         การเล่นเกม  มักใช้เวลามาก หมกมุ่น

•         การใช้เงิน  ใช้เงินไปกับการเล่นเกม  หรือแอบหยิบเงินคนอื่น  หาเงินทางอื่นเพื่อนำไปใช้กับการเล่นเกม

•         การใช้เวลาว่าง  ไม่ใช้เวลาว่างกับกิจกรรมอื่น  นอกจากเกม

•         การเรียน ไม่สนใจการเรียน  เรียนไม่รู้เรื่อง ขาดสมาธิในการเรียน คิดถึงเกมในเวลาเรียน ขาดเรียน  หนีเรียน  ไม่ทำการบ้าน ผลการเรียนตกลง

•         ความรับผิดชอบส่วนตัว ไม่ทำงานที่ได้รับมอบหมาย  หลบเลี่ยงงาน  ไม่อยู่ในกติกาที่ตกลงกันไว้   นอนดึก  สลับเวลานอน  การกินการนอนกิจวัตรต่างๆไม่เป็นเวลา

•         ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น  ขาดความสนใจคนอื่น  เก็บตัวอยู่กับเกม  ไม่สนใจโลกภายนอก

ลักษณะของการติดเกม

•ใช้เวลาเล่นเกม เกิน 2 ชมต่อวัน

•รบกวนหน้าที่ การเรียน  ขาดทักษะสังคม ขาดความสัมพันธ์ในบ้าน และกับเพื่อนนอกบ้าน

•หมกมุ่นจริงจัง 

•ขาดไม่ได้ จะมีอาการรุนแรง  อารมณ์เสีย

•บุคลิกภาพผิดไปจากเดิม

•ใช้เงินมาก  แอบทำ โกหก ขโมยเงินไปเล่น

ปัญหาตามมา

•เสียการเรียน  ขาดแรงจูงใจในการเรียน  เรียนไม่สนุก 

•ติดพฤติกรรม ก้าวร้าว  คิดแบบเกม

•ขาดจินตนาการ สร้างสรรค์  คิดแต่ในกรอบ

•อาการเป็นมากขึ้น  จนเป็นโรคติดเกม

การช่วยเหลือเมื่อเด็กติดเกมแล้ว

                การช่วยเหลือเด็กติดเกมทำได้  ด้วยการสร้างพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดี แล้วตามด้วยวิธีการดังนี้

1.            ตกลงกติกากันให้ชัดเจน  พยายามให้ลด หรือเลิก  ถ้าลด  ให้จัดเวลากันใหม่ลดเวลาเล่นลงทีละน้อย

เช่น เดิมเล่นทุกวัน  วันละ ชั่วโมง ลดลงดังนี้

สัปดาห์แรก  ให้เล่นวันละ ชั่วโมง

สัปดาห์ที่ 2  ให้เล่นวันละ  ชั่วโมง

สัปดาห์ที่  ให้เล่นเฉพาะ  เสาร์-อาทิตย์  ไม่เกินวันละ 1  ชั่วโมง

                        ถ้าเลิก  ให้จัดกิจกรรมทดแทนเวลาที่เคยเล่นทันที  กิจกรรมควรสนุกก่อนให้เด็กเพลิดเพลิน  เบนความสนใจไปจากเกม

2.       การเอาจริงกับข้อตกลง  ด้วยสีหน้า  ท่าทาง

3.       ตกลงทดลองปฏิบัติเป็นเวลาที่แน่นอน  เช่น  ทดลองปฏิบัติเป็นเวลา 1 เดือน แล้วกลับมาประเมินผลร่วมกัน  หาทางปรับเปลี่ยนแก้ไข

4.       กำหนดทางปฏิบัติเมื่อเกิดปัญหา  เช่น  ถ้าลูกไม่ทำตาม แม่จะทำอะไร  จะให้ช่วยอย่างไร 

5.       มีการบันทึกผลการช่วยเหลือ  และนำมาพูดคุยกันเป็นระยะๆ  ชมในเรื่องที่ได้ทำไปแล้วได้ผลดี ข้อใดยังทำไม่ได้  ให้กลับมาติดตามงาน

6.       ประเมินผลเมื่อครบเวลาที่ตกลงกันไว้

7.       ปรับกติกากันใหม่ถ้ามีปัญหาความร่วมมือ  หรือทำไม่ได้

8.       จูงใจให้อยากเลิกด้วยตนเอง

9.       สร้างความสามารถในการควบคุม  เสริมทักษะการควบคุมตนเอง 

10.    จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ  ไม่มีสิ่งกระตุ้นเรื่องเกม

11.    จัดกิจกรรมให้ใช้เวลาที่เคยเล่นเกม  เป็นกิจกรรมที่สนุกอย่างอื่น  อย่าปล่อยให้ว่าง

 

7         การป้องกัน  “ เด็กทุกคนมีโอกาสติดเกมได้  ป้องกันตั้งแต่เด็กเริ่มสนใจเกม ”

การป้องกันสำคัญกว่าการรักษามาก  ควรคิดเสมอว่าเด็กมีโอกาสติดเกมทุกคน  การป้องกันเริ่มได้ตั้งแต่เด็กยังไม่ติดเกม   อาจเริ่มได้ตั้งแต่ขวบปีที่ ฝึกให้รู้จักกติกาต่างๆในชุมชน

ทักษะพื้นฐาน   เด็กควรฝึกทักษะเหล่านี้ตั้งแต่เด็กๆ

•การมีขอบเขต  ตามอายุ  เริ่มตั้งแต่เด็กเริ่มหัดเดิน

•การมีระเบียบวินัย  ไม่ตามใจเกินไป  ควรมีกติกาชัดเจน  มีการถ่ายทอดไปสู่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ

•ทักษะเตือนตัวเอง  สำรวจตนเอง สติ

•ทักษะการยั้งคิด  ไตร่ตรอง

•ทักษะการวางแผน และทำตามแผนการด้วยตัวเอง

•ทักษะการแบ่งเวลา 

•ทักษะในการควบคุมตนเอง

ความสัมพันธ์ที่ดีพ่อแม่ลูก

1.       ความใกล้ชิดสนิทสนมทีดี  จะช่วยให้เกิดการเชื่อฟัง  การยอมรับกัน  การมีเหตุผล

2.       กิจกรรมภายในครอบครัว  ที่มีความเพลิดเพลิน ความสุขใจ  จะดึงเด็กไม่ให้ติดเกม

การจัดระเบียบในบ้าน

1.       ก่อนซื้อเกม  กำหนดกติกาพื้นฐาน  ถ้าจะมีเกมในบ้าน  ต้องกำหนดเวลา และเงื่อนไขในการเล่น  เช่น เล่นได้หลังทำการบ้านเสร็จ  เล่นเกมได้ตั้งแต่เวลา 17.00-19.00 .(เวลาที่ใช้กับจอตู้ หรือจอโทรทัศน์ รวมกันแล้วไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง

2.       อย่าเปิดโอกาสให้เด็กเล่นโดยขาดการควบคุม

3.       เบนความสนใจเด็กไปสู่เรื่องอื่น สร้างวงจรชีวิตที่เป็นสุขหลายแบบ Balanced activities  (art,  music, aerobic exercise,) ที่ทำให้เพลิดเพลิน  แต่เหมาะสมเป็นที่ยอมรับ  ทำให้สนุก ครอบครัวมีส่วนร่วม  มีความสมดุลในพัฒนาการทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม

4.       สร้างความสนใจไปสู่กิจกรรมที่ทำร่วมกับผู้อื่นที่ดี  เช่นกลุ่มกิจกรรม  ค่าย  กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์  ทัศนศึกษา   กีฬา

5.       ถ้าจะอนุญาตให้เล่น  ควรจำกัดเวลาไม่เกิน 2  ชม( รวมทั้งเวลาดูโทรทัศน์  อินเทอร์เน็ต)  ฝึกให้ แบ่งเวลา  วางแผนการใช้เวลาให้มีคุณภาพ  และทำได้จริงตามที่วางแผนไว้

6.       กำกับให้เด็กทำตามกติกา

7.       ถ้ามีการละเมิดกติกา  มีมาตรการจัดการอย่างจริงจัง แต่นุ่มนวล

8.       มาตรการจริงจัง  มีการคิดและวางแผนร่วมกันล่วงหน้าไว้แล้ว  เช่น

“อยากให้พ่อเตือนก่อนหมดเวลา หรือไม่”

“ถ้าเตือนแล้วไม่สามารถหยุดตามเวลาได้  อยากให้พ่อทำอย่างไร”

“พ่อจะเตือนเพียงครั้งเดียวก่อนหมดเวลา  นาที  หลังจากนั้นถ้าไม่หยุดตามเวลา พ่อจะถอดปลั๊กออก”

“ถ้ามีการละเมิดเกินวันละครั้ง(หรือสัปดาห์ละ3 ครั้ง)  จะให้พ่อทำอย่างไร”

“เป็นอันว่าถ้าเกินเวลาที่ตกลงกันใน 1 สัปดาห์  พ่อจะงดการเล่นเกมเป็นเวลา 1 สัปดาห์”

ลักษณะพ่อแม่ที่มีลูกติดเกม

                พ่อแม่ควรทบทวนตัวเองว่าลักษณะต่างๆต่อไปนี้ มีบ้างหรือไม่  ถ้ามีการแก้ไขจะช่วยป้องกัน และรักษาเด็กติดเกมได้ผล          

1.       ใจอ่อน

2.       ตามใจ

3.       ไม่มีเวลา

4.       ขาดอำนาจส่วนตัว

ลักษณะเด็กที่จะติดเกมง่าย

                เด็กที่มีลักษณะต่อไปนี้  ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ  มีโอกาสติดเกมได้ง่าย  หรือถ้าเริ่มเล่นเกมต้องคอยควบคุมอย่างใกล้ชิด

•สมาธิสั้น  ปัญหาการเรียน   (LD)

•ปัญหากับเพื่อน ขาดทักษะสังคม

•ปัญหาอารมณ์  เหงา  เครียด  ซึมเศร้า

•ขาดการยับยั้งใจตนเอง  Disinhibition 

•รอคอยไม่ได้  Immediate gratification 

•ขาดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง Low self esteem

 

ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จ

•พ่อแม่ผู้ใหญ่ตรงกัน เป็นทีม เสริมกัน

•มองในแง่ดี 

•ชมเชยข้อดี ความสำเร็จ

•desensitization  มีกิจกรรมเสริม  ทดแทน  ให้สนุกสนาน  อย่าห้ามเฉยๆ 

•คอยกำกับให้เป็นไปตามที่ตกลง  เอาจริง สม่ำเสมอ ไม่รุนแรง  “เอาจริง อย่างนุ่มนวล”

•มีวิธีเตือนดีๆ  มองในแง่ดี  ตกลงวิธีเตือน

9 ปัจจัยรบกวนความสำเร็จ

•เตือนบ่อยๆ 

•บ่น ดุ ว่า  ท้าวความ

•ปล่อย ไม่สนใจ  ไม่มีเวลา

•หงุดหงิด  อารมณ์เสียใส่กัน

•พ่อแม่แตกคอกัน  ขัดแย้งกัน  ยอมเด็กไม่เท่ากัน

 

เอกสารอ้างอิง

1.  กรมสุขภาพจิต  กระทรวงสาธารณสุข  คู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน  โรงพิมพ์ ร.ส.พ. กรุงเทพฯ

2.  พนม  เกตุมาน  สุขใจกับลูกวัยรุ่น  บริษัทแปลน พับลิชชิ่ง  จำกัด  กรุงเทพฯ  2535 

3. Angold A. Diagnostic interviews with parents and children. In: Rutter M,Taylor E, eds. Child and Adolescent Psychiatry.4th ed. Bath : Blackwell Science, 2002:32-51.

4. Geldard D. Basic personal counselling: a training manual for counsellors. 3rd ed. Sydney : Prentice Hall, 1998:39-168.

5. MacKinnon RA, Yudofsky SC.   In: The psychiatric evaluation in clinical practice. Philadelphia : J.B.Lippincott Company,1986:35-84.

6. ศรีดา ตันทะอทิพานิช  ท่องอินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัยและได้ประโยชน์  สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยี่สารสนเทศแห่งชาติ  บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์  กรุงเทพมหานคร  2544 

 

แหล่งข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการดูแลเยาวชนเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต

www.americalinksup.org

www.enough.org

www.getnetwise.org

www.netparenting.com

www.netparenting.org

www.parents.surfmonkey.com

www.smartparent.com

www.safekids.com

คณะรัฐมนตรีต้องมีมติเมื่อวันที่ 23 พ.ย. เพื่อล้อมคอกปัญหาไม่ให้ลุกลามจนสายเกินแก้ ด้วยการ ออกมาตรการควบคุมเกมออนไลน์ 4 ข้อ ตาม

ข้อเสนอของกระทรวงไอซีที คือ

1. จำกัดชั่วโมงการเล่นเกมออนไลน์ของเยาวชน ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ให้เล่นได้วันละไม่เกิน 3 ชั่วโมง 2. ห้ามเล่นการพนัน ชิงโชค หรือซื้อขายอุปกรณ์ในเกมออนไลน์

3. ออกระเบียบเกี่ยวกับการจดทะเบียนร้านอินเตอร์เน็ต เพื่อกำกับดูแลการให้บริการอินเตอร์เน็ต และ

4. รณรงค์ให้เยาวชนและผู้ปกครองทราบ โทษของการเล่นเกมออนไลน์ติดต่อกันเป็นเวลานาน

กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการออกกฎกระทรวง โดยอาศัย พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุ โทรทัศน์ พ.ศ. 2530 ให้ รมว.มหาดไทย แต่งตั้งข้าราชการกระทรวงไอซีที ในการควบคุมร้านอินเตอร์เน็ตและเกมออนไลน์

หมายความว่าหลังจากนี้ไปร้านอินเตอร์เน็ต คาเฟ่ 5,670 ร้าน ทั่วประเทศ ต้องจดทะเบียน ไม่เช่นนั้นถือว่าทำผิดกฎหมาย หรือหากใครทำผิดมาตรการ ควบคุมทั้ง 4 ข้อ ทางกระทรวงไอซีทีสั่งปิดได้ทันที
ขณะเดียวกันกระทรวงสาธารณสุข ก็จัดตั้ง ศูนย์บำบัดเด็กติดเกม ขึ้นที่สถาบันสุขภาพจิตเด็ก และวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต โดยให้บริการคลินิกพิเศษ สำหรับผู้ปกครอง ที่มีปัญหาเด็กติดเกม เพื่อแก้ไขปัญหา พร้อมหาแนวทางเพื่อ พัฒนาศักยภาพ ของครอบครัว
กิจกรรมของศูนย์บำบัดฯนี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 ธ.ค. เป็นการอบรมเทคนิคการดูแลเด็กติดเกม เบื้องต้น สำหรับผู้ปกครอง ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค. 2548 เป็นการเข้ากลุ่มบำบัดเด็กติดเกม วันที่ 2930 ม.ค. 2548 เป็นค่ายบำบัดเด็กติดเกมครั้งที่ 1 และวันที่ 18 ก.พ. 2548 เป็นค่ายบำบัดเด็กติดเกมครั้งที่ 2 ซึ่งการบำบัดด้วยการเข้าค่ายอบรมร่วมกันระหว่างเด็กและผู้ปกครองนี้ เป้าหมายเพื่อนำไปสู่ ทางออกที่แท้จริง หากใครสนใจนำบุตรหลานร่วมการบำบัด โทร.0-2354-8305 ต่อ 104 หรือรับคำปรึกษาได้ที่สายฮอตไลน์ โทร.0-2354-8300

 กระทรวงวัฒนธรรม เตรียมจัดตั้ง สำนักเฝ้าระวังวัฒนธรรม ซึ่งเป็นไปตามมติ ครม. ที่ให้กระทรวงวัฒนธรรม รับโอนภารกิจกองทะเบียนของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงมหาดไทย ใน พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและ วัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 และ พ.ร.บ.ภาพยนตร์ พ.ศ. 2473 โดยจะมีสถานะเทียบเท่ากรม เพื่อดูแลการผลิตสื่อที่ไม่เหมาะสม มีความรุนแรง ซึ่งจะรวมไปถึงตัวเกมจากเครื่องเล่นเกมชนิดต่างๆด้วย 

แบบบันทึกการสังเกตการณ์การให้คำปรึกษาศิริราช

Siriraj  Medical Counseling Checklist

Trainee…………………………………………..      Patient Initial…………..

Trainer…………………………………………..      Date…………………….

A.  เริ่มต้น opening

    1.  ทักทาย/สร้างความคุ้นเคย   greeting, calibration  (  )มี      (  )ไม่มี

    2.  แนะนำตนเองและขั้นตอน   introduction : who,why    (  )มี      (  )ไม่มี

    3  ท่าทีผ่อนคลาย  self comfort      (  )มี      (  )ไม่มี

    4.  ใส่ใจต่อความสุขสบายของผู้ป่วย   attends to patient comfort  (  )มี    (  )ไม่มี

    5.  สิ่งแวดล้อม  environmental manipulation       (  ) เหมาะสม    (  )ไม่เหมาะสม

    6.  สอบถามความเข้าใจผู้ป่วย   seeks counselee’s understanding  (  )มี      (  )ไม่มี

    7.  ให้ความมั่นใจในการเก็บข้อมูลเป็นความลับ  confidentiality (  )มี  (  )ไม่มี

B.  เข้าใจประเด็นปัญหา   identification of problem

     1.   ถามถึงปัญหาต่างๆ  problem survey  (  )มี      (  )ไม่มี

     2.  จัดลำดับความสำคัญ   negotiates  priorities  (  )มี      (  )ไม่มี

      3.  ติดตามเรื่องราวอย่างต่อเนื่อง   maintains a narrative thread (  )มี      (  )ไม่มี

     4.  สำรวจลงลึก  uses cone format  (  )มี      (  )ไม่มี

     5.  ทำความเข้าใจปัญหาให้กระจ่าง   uses clarification (  )มี      (  )ไม่มี

C.ตั้งเป้าหมาย  goal setting:

1. เลือกปัญหาที่แท้จริงที่ต้องการ   problem  identification (  )มี      (  )ไม่มี

        การสรุปและนำสู่ประเด็น  transition of topic  (  )มี      (  )ไม่มี

            การดึงเข้าประเด็นที่แท้จริง   redirection of topic  (  )มี      (  )ไม่มี

2. สร้างแรงจูงใจ  establishs the motivation   (  )มี      (  )ไม่มี

3. กำหนดเป้าหมายร่วมกัน chooses  the appropriate problem  (  )มี      (  )ไม่มี

D. การแก้ปัญหา problem solving

1.  การใช้คำถาม   questioning    (  )เหมาะสม    (  )ไม่เหมาะสม

2.  การฟัง   listening    (  )มาก      (  )  น้อย       (  )เหมาะสม    (  )ไม่เหมาะสม

3.  การให้ข้อมูลทางการแพทย์  medical facts (  )มี     (  )ไม่มี    (  )เหมาะสม    (  )ไม่เหมาะสม

4.  ใช้ภาษาเข้าใจง่าย simple and easy to understand informations  (  )มี      (  )ไม่มี

     เป็นประโยชน์  useful     (  )มาก      (  )  น้อย  

     ถูกต้อง  correct     (  )มาก      (  )  น้อย  

     เหมาะสม relevant    (  )มาก      (  )  น้อย  

     เพียงพอ adequate    (  )มาก      (  )  น้อย  

5.  เสนอทางเลือก  shares  possible solutions  (  )มี      (  )ไม่มี

6.  หารือข้อดีข้อเสีย  discusses advantages and disadvantages  (  )มี      (  )ไม่มี

7.  การให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วม lets  counselee  make his\her own decision  (  )มี      (  )ไม่มี

8.  การให้ความหวัง  shows hope  (  )มี      (  )ไม่มี    (  )เหมาะสม    (  )ไม่เหมาะสม

9.  สรุปเป็นระยะ segment  summary (  )มี      (  )ไม่มี    (  )เหมาะสม    (  )ไม่เหมาะสม

E.  การจบการสนทนา  closing

1.  เปิดโอกาสให้ถาม  asks for questions  (  )มี      (  )ไม่มี

2.  แสดงความชื่นชม  shows appreciation  (  )มี      (  )ไม่มี

3.    การนัดหมายติดตาม   follow up plan (  )มี      (  )ไม่มี

F.   ทักษะตลอดกระบวนการ  counseling techniques

1.การส่งเสริมการสื่อสาร  facilitation skills

    การสบตา  eye contact  (  )มี      (  )ไม่มี    (  )เหมาะสม    (  )ไม่เหมาะสม

    ท่าทาง  posture, facial expression  (  )มี      (  )ไม่มี    (  )เหมาะสม    (  )ไม่เหมาะสม

     การสัมผัส touch  (  )มี      (  )ไม่มี    (  )เหมาะสม    (  )ไม่เหมาะสม

   การใช้ภาษา verbal  communication   (  )เหมาะสม    (  )ไม่เหมาะสม

   การใช้ความเงียบ uses silence  (  )มี      (  )ไม่มี    (  )เหมาะสม    (  )ไม่เหมาะสม

   การสื่อสารสองทาง  two way communication  (  )มี      (  )ไม่มี

   การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  mutual participation  (  )มี      (  )ไม่มี

2. การสร้างความสัมพันธ์  relationship skills

    มีส่วนร่วมในความรู้สึก  shares  of feeling  (  )มี      (  )ไม่มี

   การสะท้อนความรู้สึก acknowledges/ reflects the  feeling  (  )มี      (  )ไม่มี

   มีส่วนร่วมในความคิด shares of thinking   (  )มี      (  )ไม่มี

     การสะท้อนความคิด   reflects the thought  (  )มี      (  )ไม่มี

   การให้กำลังใจ supports  (  )มี      (  )ไม่มี    (  )เหมาะสม    (  )ไม่เหมาะสม

   ความเข้าใจความรู้สึก empathy  (  )มี      (  )ไม่มี

    ท่าทีเป็นกลาง/ไม่ตัดสินผิดถูก  nonjudgmental,neutral  (  )มี      (  )ไม่มี

   ท่าทางเข้าใจ  understanding  (  )มี      (  )ไม่มี

    ยอมรับ unconditional positive regard, accepts the counselee   (  )มี      (  )ไม่มี

 

ข้อเสนอแนะ......................................................................................................

การประเมิน..........................................................................................................

Adapted from  the “ Brown Interview Checklist”    Brown  University 1991

By  Dr. Panom Ketumarn MD. and  Dr. Sirirat Kooptiwut  MD.  Faculty of Medicine Siriraj Hospital   Mahidol university  2001

 

คู่มือการใช้งาน  Medical Counseling Checklist สำหรับ Trainer

 

  1. อธิบายให้ trainee เข้าใจในเนื้อหาและหัวข้อที่จะประเมิน
  2. สร้างแรงจูงใจให้เกิดการยอมรับการประเมิน
  3. สังเกตพฤติกรรมทั้งข้อดีและข้อด้อยของ trainee
  4. บันทึกพฤติกรรมของ trainee
  5. เปิดโอกาสให้ trainee แสดงความคิดความรู้สึกต่อการให้คำปรึกษาที่ตนเอง

เพิ่งทำไป

  1. ให้ trainee ลองประเมินข้อดีและ ข้อเสียของตนเอง
  2. ให้ trainee ลองคิดแก้ใขใหม่ด้วยตัวเอง (ถ้าทำใหม่ จะทำอย่างไร)
  3. นำเสนอข้อดีของ trainee และแสดงความชื่นชมในส่วนดี
  4. นำเสนอข้อด้อยของ trainee พร้อมข้อแนะนำ
  5. เปิดโอกาสให้ trainee ซักถาม
  6. มอบบันทึก checklist แก่ trainee
  7. ให้กำลังใจ และความหวังแก่ trainee ในการพัฒนาตนเองต่อไป
  8.  เปิดโอกาสให้ trainee ทดลองประเมินตนเองโดยใช้แบบ  checklist ด้วยตนเอง

 

 

 

คู่มือการใช้

Medical  Counseling  Checklist    (MCC)

 

คู่มือ Medical  Counseling Checklist เป็นคู่มือที่ใช้กับ Medical  Counseling Checklist ก่อนใช้ควรอ่านคำแนะนำในคู่มืออย่างละเอียด  ผู้ถูกประเมินควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา  (counseling) 

คำแนะนำ

1.  Medical  Counseling  Checklist  เป็นเครื่องมือที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประเมินกระบวนการ  การให้คำปรึกษา  (counseling  process)  การประเมินสามารถทำได้สองรูปแบบ  คือ

1.1      การประเมินตนเอง  (Self  Feedback)

1.2      การประเมินโดยวิทยากรหรือครูฝึก  (Trainer’s  Feedback)

การประเมินตนเอง  ผู้ประเมินใช้  MCC เป็นแนวทางในการทบทวนพฤติกรรมของตนเองในขณะให้คำปรึกษา  และประเมินตามความเป็นจริง  และพยายามเสนอแนะตนเองในสิ่งที่คาดว่าน่าจะพัฒนาขึ้น

                ควรประเมินตนเองทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการให้คำปรึกษาในแต่ละครั้ง

ทางเลือกผู้ประเมินตนเองบันทึกแถบวีดิทัศน์  หรือเทปเสียงการให้คำปรึกษา  (ขออนุญาตผู้รับคำปรึกษาก่อนและนำเทปมาดูภายหลังพร้อมกับประเมินตนเองตามแนวทางของ  MCC

 

การประเมินโดยวิทยากรหรือครูฝึก

                ผู้ประเมิน  (Trainer)  ควรเริ่มต้นดังนี้

1.       มีการตกลงกันก่อนกับผู้ถูกประเมินหรือผู้รับการฝึก  (Trainee) ว่า  จะมีการประเมินพฤติกรรมของ  Trainee  การประเมินนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกเป็นการเรียนรู้ในกระบวนการให้คำปรึกษา

2.       ผู้ประเมิน  อธิบายถึงประโยชน์ของการ Feedback  วิธีการและเนื้อหาที่จะ Feedback  เพื่อวัตถุประสงค์จะพัฒนาการให้คำปรึกษาให้ดีขึ้น

3.       ผู้ประเมินแจก MCC ให้ผู้ถูก Feedback ศึกษาและทำความเข้าใจ อธิบายความหมายของหัวข้อต่าง ๆ

4.       ผู้ประเมินสังเกตการณ์การให้คำปรึกษาอย่างละเอียด  จดบันทึกพฤติกรรมที่จะนำมา Feedback  หรือ  บันทึกเทป  (โดยขออนุญาตผู้ป่วยก่อนและประเมินใน  MCC  ทันทีหลังเสร็จสิ้นกระบวนการการให้คำปรึกษา

5.       ผู้ประเมินให้ Feedback  ทันทีหลังการให้คำปรึกษาโดยดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

 

5.1      สอบถามผู้ถูกประเมินว่า

-          คิดและรู้สึกอย่างไร  ต่อการให้คำปรึกษาที่ผ่านไป

-          ข้อดีของตนเอง

-          ข้อเสียหรือข้อบกพร่อง  หรือสิ่งที่ทำได้ไม่ดี

-          ถ้าแก้ไขใหม่  อยากจะกลับไปเปลี่ยนแปลงอะไร

-          ต้องการคำแนะนำตรงไหน

5.2      หยิบยกข้อดีของผู้ถูกประเมินที่เห็นชัด  2 –3  ประเด็นหรือมากกว่านี้

5.3      หยิบยกประเด็นที่น่าจะแก้ไข/พัฒนาที่ยังไม่ได้ถูกกล่าวถึงในข้อ  5.1  มา Feedback (ควรระวังในกรณีที่ Feedback  เป็นกลุ่ม  เนื่องจากบางเรื่องควร Feedback  เป็นรายบุคคล

5.4      ให้คำแนะนำในความคิดเห็นของ  Trainer  อธิบายว่าความเห็นหรือคำแนะนำนี้เป็นทางเลือกอีกแบบหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อการให้คำปรึกษาในครั้งต่อๆ ไป  อธิบาย             ข้อดี/เสียของทางเลือกแบบต่าง ๆ

5.5      ยอมรับฟังเหตุผลของ Trainer แต่หลีกเลี่ยงการโต้เถียง หรือพยายามเอาชนะกัน

5.6      หยิบยกข้อดีของผู้ถูกประเมินมาให้กำลังใจและได้ทราบถึงศักยภาพด้านบวกของตนเอง

5.7      แสดงความรู้สึกที่ดีต่อผู้ถูกประเมิน

-          เชื่อว่าน่าจะทำได้ดียิ่งขึ้น

-          เห็นว่ามีการเรียนรู้  และรับฟัง

-          ชื่นชมที่แสดงท่าทีที่ดีต่อการ Feedback 

-          หวังว่าจะนำสิ่งที่ได้รับจาก  Feedback ไปใช้ในโอกาสต่อไป

5.8      จบการประเมินโดยให้  MCC  ที่เขียนเรียบร้อยแล้วแก่ผู้ถูกประเมินเพื่อนำไปศึกษาด้วยตนเอง

 

<ห้องรับแขก

  คลินิคจิต-ประสาท 563 ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล  เขตดุสิต  กทม 10300  โทร. 0-2243-2142  0-2668-9435

   ส่งเมล์ถึง panom@psyclin.co.th พร้อมด้วยข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเว็บไซท์นี้
   ปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุด:21/05/50