บริษัทคลินิคจิต-ประสาท

 ห้องรับแขก

กลับไป ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชและปัญหาพฤติกรรม      

 

 

ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชและปัญหาพฤติกรรม

การทดสอบทางจิตวิทยา  ทดสอบบุคลิกภาพ  ทดสอบความถนัด

  จริยา  วัฒนโสภณ

ความมุ่งหมายของการทดสอบทางจิตวิทยา

         กล่าวโดยย่อ ๆ  “จุดมุ่งหมายของการทดสอบทางจิตวิทยาทุกประเภทนั้น  เป็นการค้นหาความแตกต่างระหว่างบุคคล”     การรับรู้ในสิ่งที่เป็นปกติ  และการเข้าใจถึงความเบี่ยงเบนที่เป็นอย่างมากที่คนไข้แสดงออก  จากสิ่งเหล่านี้  ย่อมทำให้แพทย์มีความเข้าใจถึงการตัดสินวินิจฉัยโรคคนไข้ได้ถูกต้องมากขึ้น

การแบ่งประเภทการทดสอบทางจิตวิทยา

         1.  Achievement  test  (การทดสอบที่วัดความสำเร็จในการเรียน )   การทดสอบประเภทนี้  มุ่งวัดความสำเร็จของการศึกษาและฝึก อบรม เช่น  การทดสอบในการอ่าน  การคำนวณ  หรือการสกดคำ  และ อื่น ๆ

          2.  Aptitude  test   (การทดสอบความถนัดเป็นการทดสอบที่วัดศักยภาพของความสามารถพิเศษ  เช่น  วัดความสามารถทางด้านดนตรี  ศิลป  หรือการใช้ภาษา  หรือ อื่น ๆ

          3. การทดสอบเชาวน์ปัญญา  เป็นการวัดความสามารถในการเรียนรู้ และผู้รับการทดสอบจะได้ผลออกมาเป็น I.Q. (Intelligence  Quotient)  ถือว่าเป็นอัตราของเชาวน์ปัญญาที่มีอยู่ของบุคคลนั้นทั้งหมดในการใช้เปรียบเทียบกับประชากรที่อยู่ในวัยเดียวกัน

   ครั้งแรกนั้น  การทดสอบเชาวน์ปัญญาเป็นการทดสอบเด็กปัญญาอ่อน  และเพื่อช่วยในการวางแผนการศึกษาของเด็ก  อาชีพ  และการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม  อีกประการหนึ่ง  การทราบ I.Q.  เป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจเพื่อเลือกการทำงานที่ถูกต้อง

      แบบทดสอบที่นิยมใช้   เช่น  WPPSI,  WISC,  WAIS,  เป็นกลุ่มของ Wechsler Intelligence Scale  และ  Standford-Binet ฯลฯ 

การแบ่งระดับเชาวน์ปัญญา

I.Q.     

    ระดับเชาวน์ปัญญา  

 

130 and above

Very superior                          ฉลาดมาก

120 - 129

Superior                                 ฉลาด

110 - 119

High average (bright)               ค่อนข้างฉลาด

90 - 109

Average                                 ปานกลาง

80 - 89

Low Average (dull)                  ปัญญานิ่ม

70 - 79

Borderline                               คาบเส้นปัญญาอ่อน

        4.  Personality Tests  เป็นการทดสอบศึกษาถึงบุคลิกภาพ  ซึ่งได้แก่

               ·  Personality questionnaires  เช่น Minnesota Multiphasic Personality Inventory (MMPI)  ซึ่งใช้แพร่หลายมากในปัจจุบัน

              ·  Projective tests    วิธีการทำการทดสอบประเภทนี้  ถือว่าเป็นเทคนิคพิเศษมากกว่าประเภทอื่น ๆ   การวิเคราะห์โรค  ต้องการพิจารณาทางด้านคุณภาพของคำตอบ (qualitative  หรือ  content)  เป็นประการแรกมากว่าจะพิจารณาทางด้านสถิติหรือปริมาณ (quantitative)     เมื่อผู้รับการทดสอบได้รับการเค้าด้วยสิ่งที่ไม่เป็นโครงรูปที่แน่นอน  เช่น Rorschach blots  เขาจึงไม่สามารถที่จะพึ่งคำตอบที่เรีกยว่าถูกหรือผิด  แต่เขาต้องถ่ายทอดบุคลิกภาพของเขาออกมาทางคำตอบ  ในทางตรงกันข้ามกับคำตอบเป็นโครงรูป  (structured test)  การทดสอบที่ไม่เป็นโครงรูปนี้  มิได้ผูกพันกับสิ่งแวดล้อม  ซึ่งผู้รับการทดสอบจะยึดถือในเรื่องการเรียนรู้มาก่อน  เพราะฉะนั้น  คำตอบของเขาจึงแสดงออกไปทางสิ่งที่เป้นคุณค่าของเขา  และความรับผิดชอบในการพบกับปัญหาใหม่  เทคนิค projective  ที่ไม่เป็นโครงรูปที่แน่นอนเหล่านี้  ย่อมทำให้ผู้ทดสอบที่ชำนาญหรือมีประสบการณ์ได้เข้าใจถึงบุคลิกภาพ  และนำไปทำจิตวิเคราะห์ได้เร็วขึ้น

                                Projective technique  ได้แก่

                                1.  Rorschach Test (inkblot)

                                2.  Figure Drawing Test

                                3.  Thematic Apperception Test (TAT)

                                4.  Story Completion

                                5.  Make-A-Picture-Story (MAPS) Test

                                6.  Word Association Test

                                7.  Sentence Completion Tes   

  คุณสมบัติของผู้ใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยา

        ผู้ใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาควรเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา  การฝึกอบรม  และมีประสบการณ์ในการใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยา  กล่าวคือควรมีคุณสมบัติ  ประการดังนี้

                                s  การเลือกแบบทดสอบที่เหมาะสมกับผู้รับการทดสอบ

                                s  ความรู้ในเรื่องการดำเนินการทดสอบ  และ

                                s  ความสามารถในการแปลผลการทดสอบ

 

*****************

ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชและปัญหาพฤติกรรม

 

               

<ห้องรับแขก

  คลินิคจิต-ประสาท 563 ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล  เขตดุสิต  กทม 10300  โทร. 0-2243-2142  0-2668-9435

   ส่งเมล์ถึง panom@psyclin.co.th พร้อมด้วยข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเว็บไซท์นี้
   ปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุด:21/05/50