บริษัทคลินิคจิต-ประสาท

 ห้องรับแขก

กลับไป ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชและปัญหาพฤติกรรม      

 

 

ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชและปัญหาพฤติกรรม

โรคสมองเสื่อม

(Dementia)

 นายแพทย์เกรียงไกร  แก้วผนึกรังษี

 คำจำกัดความ

                                ลักษณะที่สำคัญของโรคคือ  ความสามารถในการรู้การเข้าใจของผู้ป่วยเสียหลายอย่าง  ซึ่งแสดงออกโดย

                                w ความจำเสีย  และ

                                w มีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย  อย่าง  ได้แก่  aphasia, apraxia, agnosia  และ หน้าที่ในเชิงบริหาร (executive function)  มีความบกพร่อง

อุบัติการ

                                โรคนี้มักพบในผู้สูงอายุ  พบว่าร้อยละ 2 - 4 ของประชากรซึ่งมีอายุมากกว่า  65  ปี  เป็น โรคอัลไซเมอร์   ส่วนโรคสมองเสื่อมเนื่องจากสาเหตุอื่นพบน้อยกว่านี้มาก  อุบัติการของโรคสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์และโรคหลอดเลือดสมองจะเพิ่มสูงขึ้นตามอายุโดยเฉพาะภายหลังอายุ  75  ปี  โดยพบว่ามากกว่าร้อยละ 20  ของผู้ที่มีอายุมากกว่า  85  ปี เป็นโรคสมองเสื่อมด้วยสาเหตุดังกล่าว

                                โรคสมองเสื่อมพบได้น้อยในเด็กและวัยรุ่น  สาเหตุที่สำคัญของโรคสมองเสื่อมซึ่งพบในผู้ที่มีอายุน้อย คือ  ศีรษะได้รับบาดเจ็บ   โรคเนื้องอกในสมอง   โรคเอดส์และโรคหลอดเลือดสมอง

สาเหตุ

                                สาเหตุที่สำคัญของโรคสมองเสื่อมมีดังต่อไปนี้

                                · โรคอัลไซเมอร์

                                · โรคหลอดเลือดสมอง

                                · ศีรษะได้รับบาดเจ็บ

                                · โรคพาร์กินสัน

                                · โรคเอดส์

                                · โรคทางกาย เช่น โรคไฮโปธัยรอยด์  และโรคซิฟิลิสของสมอง

                                · ติดสารเสพย์ติด  เช่น สุราและสารระเหย

                                · โรคเนื้องอกในสมอง

                                · สาเหตุอื่น  เช่น โรควิลสัน และ Huntington’s disease

ลักษณะทางคลินิก

                                อาการที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

  v ความจำเสีย  ผู้ป่วยจะมีอาการต่าง ๆ ดังนี้

                                                w ไม่สามารถจำเรื่องราวใหม่ ๆ ได้

                                                w  ลืมเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้น  

                                                w  ลืมเรื่องราวในอดีต

  v อาการซึ่งบ่งว่ามีพยาธิสภาพของสมอง

                            1. Aphasia  ความสามารถในการใช้ภาษาพูดเสีย

                            2. Apraxia  ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายได้

                                w Ideational apraxia  หมายถึงผู้ป่วยไม่สามารถทำตามคำสั่งได้

                                w Gait apraxia  การเดินของผู้ป่วยผิดปกติโดยเดินลักษณะไม่มั่นคงและหกล้มง่าย

                             3. Agnosia  ผู้ป่วยไม่รู้ว่าสิ่งที่มองเห็น  ได้ยิน  หรือสัมผัสเป็นอะไร

                                                w ผู้ป่วยไม่รู้ว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไร

                                                w ผู้ป่วยไม่รู้ว่าเสียงที่ได้ยินเป็นเสียงอะไร

                                                w ผู้ป่วยไม่รู้ว่าสิ่งที่ตนสัมผัสเป็นอะไร

                             4. หน้าที่ในเชิงบริหาร (executive function) เสีย  หมายถึงผู้ป่วยไม่สามารถใช้ความคิดแบบนามธรรม  ไม่สามารถวางแผนการทำงาน  ขาดการริเริ่มและการติดตามงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์  รวมทั้งขาดการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม 

อาการอื่นและโรคที่พบร่วมด้วย

                                ผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้ด้วย

                                w ผู้ป่วยมักไม่สามารถมองเห็นภาพ 3 มิติ

                                w ผู้ป่วยอาจคิดเลขไม่ได้

                                w ผู้ป่วยขาดความคิดอย่างมีเหตุผลและไม่ทราบว่าตนเองไม่สบาย

                                w มีพฤติกรรมก้าวร้าวโดยขาดการควบคุมอารมณ์

                                w อาจมีปัญหาในการเดิน  ทำให้หกล้มเกิดอุบัติเหตุง่าย

                                w อาจมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

                                w เชาวน์ปัญญาของผู้ป่วยจะค่อย ๆ เสื่อมลง

                                w มีอาการทางจิตเวช  เช่น  วิตกกังวล  ซึมเศร้า  นอนไม่หลับ

การดำเนินโรค

         อาการของผู้ป่วยจะทรุดลงตามลำดับหรืออาจคงที่  หรือดีขึ้นถ้าสาเหตุของโรคได้รับการแก้ไขหมดไป  ผู้ป่วยซึ่งมีอาการรุนแรงจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้  จำเป็นต้องมีผู้คอยเฝ้าดูแลตลอดเวลา  ผู้ป่วยมักได้รับอุบัติเหตุและเป็นโรคติดเชื้อ  ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

การรักษา

                                หลักการรักษามีดังต่อไปนี้

                                w รักษาสาเหตุของโรค

                                w ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย

                                w ให้การช่วยเหลือครอบครัวของผู้ป่วยโดยให้กำลังใจ

                                w การรักษาด้วยยาจิตบำบัด

 ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชและปัญหาพฤติกรรม

<ห้องรับแขก

  คลินิคจิต-ประสาท 563 ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล  เขตดุสิต  กทม 10300  โทร. 0-2243-2142  0-2668-9435

   ส่งเมล์ถึง panom@psyclin.co.th พร้อมด้วยข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเว็บไซท์นี้
   ปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุด:21/05/50