บริษัทคลินิคจิต-ประสาท

 ห้องรับแขก

กลับไป ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชและปัญหาพฤติกรรม      

 

 

ข้อมูลเบื้องต้น

การนำผู้ป่วยจิตเวชมาตรวจรักษา

นพ.พนม เกตุมาน

  ผู้ป่วยจิตเวชบางคนไม่อยากมาพบจิตแพทย์  เนื่องจากความอาย กลัวคนอื่นๆจะรู้  กลัวว่าตนเองอาจจะป่วยเป็นโรคจิตเวช  ซึ่งในสมัยก่อนอาจไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมนัก  ผู้ป่วยบางคนการรู้ตนเองเสียไปมากๆ เช่นผู้ป่วยโรคจิต  จะไม่ยอมรับว่าตนเองผิดปกติ  แม้จะพยายามพูดด้วยเหตุผลอย่างไรก็ไม่สำเร็จ  วิธีต่อไปนี้อาจจะช่วยให้ท่านพาผู้ป่วยมาได้ง่ายขึ้น

๑. อธิบายอย่างจูงใจให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อการมาพบจิตแพทย์  ในระยะแรกอาจใช้คำว่า"แพทย์" แทนคำว่าจิตแพทย์ไปก่อน  แสดงให้เห็นความหวังดี เจตนาดีของญาติ  หลีกเลี่ยงการพูดถึงแพทย์ในทางคุกคาม ข่มขู่  หรือเย้ยหยันให้ผู้ป่วยอายเกี่ยวกับการมาพบแพทย์  เช่น  "ทำตัวให้ดีนะ ไม่งั้นจะพามาหาหมอ "  " ถ้าพูดไม่เชื่อ เดี๋ยวจับส่งมาให้หมอฉีดยานะ"  "ทำอย่างนี้ อยากไปอยู่โรงพยาบาลอีกหรือไง"  "คราวหน้า จะไม่พากลับจากโรงพยาบาลละนะ ทำแบบนี้"  คำพูดเหล่านี้ล้วนทำให้ผู้ป่วยกลัวแพทย์ กลัวโรงพยาบาล  กลัวการฉีดยา  ทำให้ไม่ร่วมมือในการรักษาระยะยาวด้วย  ควรใช้คำพูดว่า  อาการที่เกิดขึ้น เช่น  การนอนไม่หลับ  อาการปวดหัว  ซึ่งผู้ป่วยเองก็รู้สึกเดือดร้อนด้วย เป็นอาการที่ควรจะตรวจโดยแพทย์อย่างละเอียด  ไปเล่าให้หมอฟัง  ถ้าไม่มีปัญหาอะไรจะได้สบายใจ

๒.อธิบายข้อดีของการมาพบแพทย์  ได้แก่  การตรวจอย่างละเอียด มีข้อสงสัยประการใดจะได้สอบถามหมอ การรู้ว่ามีอะไรไม่ปกติอย่างรวดเร็วเป็นข้อดี  ในการช่วยเหลือได้ง่าย  และรวดเร็ว

๓.ให้ความหวังและกำลังใจเบื้องต้นว่า  การมาพบแพทย์ไม่ได้หมายความว่าเขาจะต้องป่วย  การมาพบจิตแพทย์ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะต้องป่วยเป็นโรคจิตโรคประสาทเสมอไป  เดี๋ยวนี้จิตแพทย์ช่วยได้มากกว่านั้น บางครั้งแค่มีความเครียด  การปรึกษาก็ได้ประโยชน์แล้ว  การปรึกษาในเชิงป้องกันปัญหาก็เป็นสิ่งที่จิตแพทย์ยินดีทำเช่นกัน  มีคนยอมรับและมาพบจิตแพทย์ด้วยปัญหาง่ายๆมากขึ้น

๔.ให้ความมั่นใจในการเก็บรักษาความลับ  ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลผู้ป่วยแก่บุคคลอื่น โดยผู้ป่วยไม่ยินยอม

๕.ไม่ปิดบังหรือหลอกลวงผู้ป่วยมาพบแพทย์  เพราะจะทำให้ขาดความเชื่อใจ  ผู้ป่วยมักโกรธและไม่ร่วมมือ ทำให้การรักษาเป็นไปได้ยาก  ควรบอกกันตรงๆ  บอกกันดีๆ

๖. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการทางจิตมาก และจะเป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น  ควรจับมาอย่างนุ่มนวล  ไม่ควรทำร้ายร่างกายกันเพื่อให้สงบ  อาจขอความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่  หรือตำรวจ  ในการพานำส่งโรงพยาบาล

 

ข้อมูลเบื้องต้น

     
     
     
     

แบบฟอร์มร้องขอข้อมูล

ระบุข้อมูลที่ติดต่อของคุณให้เราทราบ

ส่งเอกสารแนะนำ

ชื่อ
ตำแหน่ง
บริษัท
ที่อยู่
อีเมล
โทรศัพท์

<ห้องรับแขก

  คลินิคจิต-ประสาท 563 ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล  เขตดุสิต  กทม 10300  โทร. 0-2243-2142  0-2668-9435

   ส่งเมล์ถึง panom@psyclin.co.th พร้อมด้วยข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเว็บไซท์นี้
   ปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุด:21/05/50