กลุ่มบำบัดในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน
(Self-help Group For the Psoriasis Patient)
ผศ. นพ. พนม เกตุมาน
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
วิธีการ
ใช้หลักการของกลุ่มบำบัดขนาดเล็ก ที่มีลักษณะกลุ่มช่วยเหลือกันเอง แบบ
self-help group
การจัดกลุ่ม
คัดเลือกผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงินที่มีเพศ อายุ อาการ
ระยะเวลาที่รักษาที่แตกต่างกัน จำนวน 12-15 คน
เวลา
พบกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์(รวม 8 ครั้ง) ครั้งๆละ 90 นาที
ผู้รักษา
1. ผู้นำกลุ่ม(
therapist) 1 คน
คุณสมบัติของผู้นำกลุ่ม
- มีความรู้
เรื่องโรคสะเก็ดเงิน
- มีความรู้
และทักษะ เรื่อง กลุ่มบำบัดขนาดเล็ก (small
group psychotherapy or self help group)
-
มีทัศนคติดีต่อการรักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน แบบองค์รวม
บทบาทของผู้นำกลุ่ม
-
เริ่มต้นกลุ่ม
- ดำเนินการ
กิจกรรมกลุ่มให้เป็นไปตามที่วางแผนไว้
-
กระตุ้นให้สมาชิกกลุ่มแสดงออก มีส่วนร่วมในกลุ่มอย่างถ้วนหน้ากัน
-
ยับยั้งการแสดงออกของสมาชิกกลุ่มบางคนที่แสดงออกมากเกินไป ไม่ตรงประเด็น
หรือไม่เหมาะสม
-
เปิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่มคนที่ไม่กล้า ไม่มีโอกาส ได้แสดงออก
-
รักษากฎกติกาของกลุ่ม
-
ดำเนินกลุ่มให้เป็นไปตามเวลาที่วางแผนไว้
-
ยุติกลุ่มตรงตามเวลา
2.
ผู้ช่วยนำกลุ่ม(co-therapist) 1
คน
คุณสมบัติของผู้ช่วยนำกลุ่ม เช่นเดียวกับผู้นำกลุ่ม
บทบาทของผู้ช่วยนำกลุ่ม
-
ช่วยผู้นำกลุ่ม ดำเนินกิจกรรมตามแผนการที่วางไว้
-
สังเกตความเป็นไปของกลุ่ม โดยเฉพาะในบางคนที่ผู้นำกลุ่มไม่เห็น(เช่น
คนที่นั่งข้างๆผู้นำกลุ่ม หรือคนที่ไม่ได้แสดงออก)
-
ในขณะที่ผู้นำกลุ่มกำลังสนใจฟังสมาชิกบางคน อาจมีปฏิกิริยาจากสมาชิกอีกคน
ที่ผู้นำกลุ่มไม่เห็น แต่มีความสำคัญ อาจขออนุญาตผู้นำกลุ่มแทรก
หรือเสริมในเรื่องที่คิดว่ามีความสำคัญต่อการเรียนรู้ในกลุ่ม
-
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ต่อจากผู้นำกลุ่ม
การคัดเลือกผู้ป่วย
- เพศชาย หรือ
หญิง อายุ 18ปี ขึ้นไป
-
มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น สามารถสื่อสาร
แสดงความคิดเห็นได้
-
ไม่มีอาการโรคจิต หรือหวาดระแวง
-
ไม่มีอาการทางร่างกายรุนแรงมากจนเป็นอุปสรรคต่อการร่วมกลุ่ม
การเตรียมผู้ป่วย
-
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์ของการรักษาแบบกลุ่มบำบัด
-
อธิบายลักษณะของกลุ่ม ขั้นตอนการรักษาแบบกลุ่ม วันเวลาที่จะนัดพบกัน
จำนวนครั้งของการรักษา บทบาทของสมาชิกกลุ่ม กฎกติกาของกลุ่ม
การเก็บรักษาความลับของกันและกัน การติดตามต่อเนื่องหลังยุติกลุ่ม ค่ารักษา
ค่ารถ การอำนวยความสะดวก เปิดโอกาสให้ซักถาม
-
สอบถามความสมัครใจ ในกรณีที่เข้าร่วมกลุ่ม ให้นัดหมายวันมาเข้ากลุ่มครั้งแรก
การเตรียมตัวมากลุ่ม การแต่งกาย ในกรณีที่ไม่สมัครใจเข้ากลุ่ม
ให้ความมั่นใจว่า การรักษาที่จะได้รับจะไม่แตกต่างจากการรักษาแบบมาตรฐาน
ตารางกลุ่มบำบัดผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน
การประเมินก่อนทำกลุ่ม
ทำก่อนเริ่มกลุ่มครั้งแรก ใช้เวลาประมาณ 30 นาที
-
ตอบแบบสอบถาม ความเครียด 10 นาที
-
ตอบแบบสอบถามอื่นๆ 20 นาที
ครั้งที่ 1
วัตถุประสงค์
-
ผู้ป่วยรู้จักกัน มีความรู้สึกผ่อนคลาย
-
ผู้ป่วยมีทักษะในการแสดงออก และเปิดเผยตัวเอง ต่อผู้อื่น
-
ผู้ป่วยมีความเข้าใจวัตถุประสงค์ของกลุ่ม รู้ขั้นตอนการทำกลุ่ม
มีส่วนร่วมในกลุ่ม
-
มีทัศนคติที่ดี อยากมาร่วมกิจกรรมกลุ่ม
กิจกรรม
-
แนะนำตัวผู้นำกลุ่ม ผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม สถานที่ การบันทึกวิดีโอ 10 นาที
- ผู้นำกลุ่ม
ให้ผู้ป่วยแนะนำตัว (แนะนำตัวเอง หรือให้เพื่อนช่วยแนะนำเพื่อน
ใช้เกมแลกเปลี่ยนนามบัตร เกมกระซิบ เกมลมเพลมพัด เกมปลาเล็กปลาใหญ่ 30
นาที
-
แนะนำวัตถุประสงค์ของกลุ่ม ตามที่ทีมผู้รักษาวางแผนไว้(รวมทั้งเรื่องการวิจัย
และการติดตามผลการรักษาหลังจากยุติกลุ่ม 5 นาที
- Round turn
ข้อความคิดเห็นและความคาดหวัง ของผู้ป่วยแต่ละคน 30 นาที
-
สรุปความต้องการของกลุ่ม 5 นาที
-
แนะนำกติกาของกลุ่ม (ดูภาคผนวก) 5 นาที
- สอบถามปัญหา
4 นาที
-
นัดหมายพบกันในกลุ่มครั้งต่อไป 1 นาที
ภาคผนวก
1.
การบริหารเวลา (เน้นเรื่องการตรงต่อเวลา
ขอให้สมาชิกมาล่วงหน้าก่อนเวลาเริ่มกลุ่มประมาณ 5-10 นาที
พบกันที่นั่งรอตามนัดหมาย การเริ่มและเลิกกลุ่มจะตรงเวลา
ผู้นำกลุ่มและผู้ช่วยจะคอยกำกับให้เป็นไปตามเวลา เวลาในกลุ่มมีค่ามาก
ขอให้ใช้อย่างคุ้มค่า ก่อนเริ่มกลุ่มควรเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย )
2.
การเข้าร่วมให้ครบ ขอให้ช่วยกันจัดตารางเวลาให้สามารถมาได้ทุกครั้ง
การพบกันครบทุกคนจะช่วยให้การรักษาแบบกลุ่มได้ผลดี ถ้าติดธุระจำเป็นจริงๆ
ขอให้แจ้งกับผู้นำกลุ่มล่วงหน้า หรือเร็วที่สุด
3.
การแสดงออกในกลุ่ม ขอให้ทุกคนช่วยกันแสดงความคิด ความรู้สึกร่วมกัน ทั่วถึงกัน
ใครต้องการพูดขอให้ส่งสัญญาณ เช่นยกมือขึ้น ผู้นำกลุ่มจะช่วยกำกับเรื่องนี้
ขอให้พูดให้ทุกคนฟัง ไม่พูดเฉพาะเป็นกลุ่มย่อยๆ ควรปิดโทรศัพท์มือถือ
ไม่ใช้โทรศัพท์ระหว่างที่อยู่ในกลุ่ม
4.
การเก็บความลับ ไม่นำเรื่องส่วนตัวของเพื่อนสมาชิกด้วยดันไปเปิดเผยนอกกลุ่ม
ไม่พบกันนอกกลุ่ม ถ้าบังเอิญพบกันขอให้นำมาแจ้งในกลุ่มในการพบกันครั้งต่อไป 5
นาที
การประเมิน
การสังเกตพฤติกรรมสมาชิกกลุ่ม
ครั้งที่ 2
วัตถุประสงค์
-
ผู้ป่วยรู้จักกันมากขึ้น มีความรู้สึกผ่อนคลาย
-
ผู้ป่วยมีทักษะในการแสดงออก และเปิดเผยตัวเอง ต่อผู้อื่น
-
ผู้ป่วยมีความความสัมพันธ์ในกลุ่มดี เกิด ความผูกพัน(cohesion)
-
ผู้ป่วยมีความรู้สึกเห็นใจผู้อื่น รู้สึกดีที่มีเพื่อนที่ประสบชะตากรรมเดียวกัน
อยากช่วยเหลือกัน
-
ผู้ป่วยได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาตนเอง จากผู้อื่น
-
มีทัศนคติที่ดี อยากมาร่วมกิจกรรมกลุ่ม
กิจกรรม
1.
Round turn
ผู้นำกลุ่มให้ผู้ป่วยเล่าปัญหาของแต่ละคน 40 นาที
2.
ผู้นำกลุ่มขอให้สมาชิกกลุ่มช่วยกัน ให้คำแนะนำ เพื่อนสมาชิกด้วยกันเอง 40 นาที
3.
ผู้นำกลุ่มส่งเสริมให้กลุ่มเห็นการแก้ปัญหาที่ดี 5 นาที
4.
ผู้นำกลุ่มสรุปการเรียนรู้ของกลุ่ม ในครั้งนี้ 4 นาที
5.
นัดหมายพบกันในกลุ่มครั้งต่อไป 1 นาที
การประเมิน
การสังเกตพฤติกรรมสมาชิกกลุ่ม
การประชุมหลังกลุ่ม
(เฉพาะผู้รักษา และทีม รวมทั้งผู้สังเกตการณ์)
-
สรุปข้อดีของการเรียนรู้ในกลุ่ม
-
สรุปการเรียนรู้ที่ไม่ถูกต้อง พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง
-
ระดมสมองช่วยคิดหาวิธีการแก้ไข ความคิดที่ไม่ถูกต้อง(cognitive
errors) ความเชื่อที่ผิดๆ
การปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง(เช่นการกินยาลูกกลอน การหยุดการรักษา)
หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ได้ในกลุ่มในวันนั้น
เพื่อหาทางแก้ไขในกลุ่มครั้งที่3
ครั้งที่ 3
วัตถุประสงค์
-
ผู้ป่วยรู้จักกันมากขึ้น มีความรู้สึกผ่อนคลาย
-
ผู้ป่วยมีทักษะในการแสดงออก และเปิดเผยตัวเอง ต่อผู้อื่น
-
ผู้ป่วยมีความความสัมพันธ์ในกลุ่มดี เกิด ความผูกพัน(cohesion)
-
ผู้ป่วยมีความรู้สึกเห็นใจผู้อื่น รู้สึกดีที่มีเพื่อนที่ประสบชะตากรรมเดียวกัน
อยากช่วยเหลือกัน
-
ผู้ป่วยได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาตนเอง จากผู้อื่น
-
มีทัศนคติที่ดี อยากมาร่วมกิจกรรมกลุ่ม
กิจกรรม
1.
Round turn
ผู้นำกลุ่มให้ผู้ป่วยเล่าปัญหาของแต่ละคน(ต่อ) 40 นาที
2.
ผู้นำกลุ่มขอให้สมาชิกกลุ่มช่วยกัน ให้คำแนะนำ เพื่อนสมาชิกด้วยกันเอง(ต่อ) 40
นาที
3.
ผู้นำกลุ่มส่งเสริมให้กลุ่มเห็นการแก้ปัญหาที่ดี 5 นาที
4.
ผู้นำกลุ่มสรุปการเรียนรู้ของกลุ่ม ในครั้งนี้ 4 นาที
5.
นัดหมายพบกันในกลุ่มครั้งต่อไป 1 นาที
การประเมิน
การสังเกตพฤติกรรมสมาชิกกลุ่ม
การประชุมหลังกลุ่ม
(เฉพาะผู้รักษา และทีม รวมทั้งผู้สังเกตการณ์)
-
สรุปข้อดีของการเรียนรู้ในกลุ่ม
-
สรุปการเรียนรู้ที่ไม่ถูกต้อง พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง
-
ระดมสมองช่วยคิดหาวิธีการแก้ไข ความคิดที่ไม่ถูกต้อง(cognitive
errors) ความเชื่อที่ผิดๆ
การปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง(เช่นการกินยาลูกกลอน การหยุดการรักษา)
หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ได้ในกลุ่มในวันนั้น
เพื่อหาทางแก้ไขในกลุ่มครั้งที่4
ครั้งที่ 4
วัตถุประสงค์
-
ผู้ป่วยมีทักษะในการแสดงออก และเปิดเผยปัญหาตนเอง เสนอทางแก้ไขปัญหาผู้อื่น
-
ผู้ป่วยมีความความสัมพันธ์ในกลุ่มดี เกิด ความผูกพัน(cohesion)
-
ผู้ป่วยมีความรู้สึกเห็นใจผู้อื่น รู้สึกดีที่มีเพื่อนที่ประสบชะตากรรมเดียวกัน
อยากช่วยเหลือกัน
-
ผู้ป่วยได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาตนเอง จากผู้อื่น
-
มีทัศนคติที่ดี อยากมาร่วมกิจกรรมกลุ่ม
กิจกรรม
1.
ผู้นำกลุ่มขออาสาสมัครสรุป การเรียนรู้ในกลุ่มครั้งที่ 3 5 นาที
2.
Round turn
ผู้นำกลุ่มให้ผู้ป่วยเล่าปัญหาของแต่ละคน(ต่อ) 30 นาที
3.
ผู้นำกลุ่มขอให้สมาชิกกลุ่มช่วยกัน ให้คำแนะนำ เพื่อนสมาชิกด้วยกันเอง(ต่อ) 40
นาที
4.
ผู้นำกลุ่มสรุป และส่งเสริมให้กลุ่มเห็นการแก้ปัญหาที่ดี 10 นาที
5.
ผู้นำกลุ่ม
ขออาสาสมัครสรุปการเรียนรู้ของกลุ่ม ในครั้งนี้ 4 นาที
6.
นัดหมายพบกันในกลุ่มครั้งต่อไป 1 นาที
การประเมิน
การสังเกตพฤติกรรมสมาชิกกลุ่ม
การประชุมหลังกลุ่ม
(เฉพาะผู้รักษา และทีม รวมทั้งผู้สังเกตการณ์)
-
สรุปข้อดีของการเรียนรู้ในกลุ่ม
-
สรุปการเรียนรู้ที่ไม่ถูกต้อง พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง
-
ระดมสมองช่วยคิดหาวิธีการแก้ไข ความคิดที่ไม่ถูกต้อง(cognitive
errors) ความเชื่อที่ผิดๆ
การปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง(เช่นการกินยาลูกกลอน การหยุดการรักษา)
หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ได้ในกลุ่มในวันนั้น
เพื่อหาทางแก้ไขในกลุ่มครั้งที่5
ครั้งที่ 5
วัตถุประสงค์
-
ผู้ป่วยมีความความสัมพันธ์ในกลุ่มดี เกิด ความผูกพัน(cohesion)
-
ผู้ป่วยได้ความรู้เรื่อง โรคสะเก็ดเงิน
-
มีทัศนคติที่ดี อยากมาร่วมกิจกรรมกลุ่ม
กิจกรรม
1.
ผู้นำกลุ่มให้สมาชิกสรุปการเรียนรู้ในครั้งที่ 4 5 นาที
2.
ผู้นำกลุ่มสรุปความเชื่อที่ผิดๆ ที่ได้จากกลุ่ม หรือจากผู้ป่วยโรคเดียวกัน
ให้กลุ่มช่วยกันแก้ไน และส่งเสริมวิธีการที่ 10 นาที
3.
ผู้นำกลุ่มให้ความรู้ เกี่ยวกับโรคสะเก็ดเงิน 40 นาที
และความสัมพันธ์ระหว่างอาการและความเครียด
4.
ถามตอบ 15
นาที
5.
ผู้นำกลุ่มให้สมาชิกกลุ่ม 1 คน เป็นตัวแทนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ 4 นาที
6.
นัดหมายพบกันในกลุ่มครั้งต่อไป 1 นาที
การประเมิน
การสังเกตพฤติกรรมสมาชิกกลุ่ม
การประชุมหลังกลุ่ม
(เฉพาะผู้รักษา และทีม รวมทั้งผู้สังเกตการณ์)
-
สรุปสิ่งที่กลุ่มผู้ป่วยยังขาด ด้านความรู้
-
สิ่งทีผู้ป่วยยังขาดด้านทักษะ เช่น การเผชิญความเครียด การผ่อนคลายตนเอง
การแก้ไขปัญหา
ครั้งที่ 6
วัตถุประสงค์
-
ผู้ป่วยมีความสามารถบอกความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด กับอาการของโรค
-
ผู้ป่วยสามารถหาสาเหตุของความเครียดของตนเองได้
-
ผู้ป่วยสามารถจัดการกับความเครียดของตนเองได้
วิธีการ
-
ผู้นำกลุ่มให้สมาชิก 1 คนอาสาสมัครสรุปผลการเรียนรู้ในกลุ่มครั้งที่ 5 5นาที
-
ผู้นำกลุ่มให้สมาชิกกลุ่มเล่าประสบการณ์ของตนเอง เรื่องความเครียด
สาเหตุของความเครียด ผลที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกับอาการทางผิวหนัง
และการแก้ไขความเครียดนั้นเท่าที่เคยทำมา 15 นาที
-
ผู้นำกลุ่มสรุปวิธีการจัดการกับความเครียดของผู้ป่วยด้วยกันเอง
ชมเชยวิธีการที่ถูกต้อง 5 นาที
-
ผู้นำกลุ่มสรุปให้กลุ่มเห็นความสำคัญของการจัดการกับอารมณ์ 5 นาที
-
ผู้นำกลุ่มสอนให้สมาชิกกลุ่มปฏิบัติ
ด้วยการคลายเครียดด้วยการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ 30 นาที
-
สอบถามความรู้สึกหลังการปฏิบัติ 5 นาที
-
ให้กลุ่มช่วยคิดเทคนิคคลายเครียดด้วยวิธีอื่น 15 นาที
-
ผู้นำกลุ่มสรุปเทคนิควิธีการคลายเครียด และมอบหมายการบ้าน
ให้บันทึกการปฏิบัติด้วยการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ทุกวันๆละ 30 นาที ในช่วง
7 วันต่อไป 5 นาที
-
ผู้นำกลุ่มให้สมาชิกสรุป 4 นาที
-
นัดหมายครั้งต่อไป 1 นาที
การประเมิน
การสังเกตพฤติกรรมสมาชิกกลุ่ม
การประชุมหลังกลุ่ม
(เฉพาะผู้รักษา และทีม รวมทั้งผู้สังเกตการณ์)
-
สรุปข้อดีของการเรียนรู้ในกลุ่ม
-
สรุปการเรียนรู้ที่ไม่ถูกต้อง พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง
ครั้งที่ 7
วัตถุประสงค์
1.
ผู้ป่วยมีทักษะคลายความเครียดของตนเองได้ด้วยการฝึกสมาธิ(concentration
meditation)
2.
ผู้ป่วยมีความรู้เรื่องการใช้ดนตรีเพื่อคลายเครียด
วิธีการ
1.
ผู้นำกลุ่มให้สมาชิก 1 คนอาสาสมัครสรุปผลการเรียนรู้ในกลุ่มครั้งที่ 6 5 นาที
2.
สมาชิกกลุ่มนำเสนอผลงาน การบ้านการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ใน 7 วันที่ผ่านมา
ผู้นำกลุ่มชมเชยผู้ที่ทำได้มาก ให้เป็นตัวอย่างของกลุ่ม 15 นาที
3.
ผู้นำกลุ่มให้สมาชิกกลุ่มเล่าประสบการณ์ของตนเอง ในการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
เท่าที่ทำมา ปัญหาอุปสรรคต่างๆ 15 นาที
4.
ผู้นำกลุ่มสอนให้สมาชิกกลุ่มฟังเพลงที่ผ่อนคลาย 10 นาที
5.
ผู้นำกลุ่มสอนให้สมาชิกกลุ่มปฏิบัติสมาธิ ด้วยการกำหนดลมหายใจ 30 นาที
6.
สอบถามความรู้สึกหลังการปฏิบัติ 5 นาที
7.
ผู้นำกลุ่มสรุปเทคนิควิธีการคลายเครียด ทั้ง 2 วิธี และมอบหมายการบ้าน
ให้บันทึกการปฏิบัติสมาธิทุกวัน วันละ 30 นาที ในช่วง 7 วันต่อไป 5
นาที
8.
ผู้นำกลุ่มให้สมาชิกสรุป 4 นาที
9.
นัดหมายครั้งต่อไป 1 นาที
การประเมิน
การสังเกตพฤติกรรมสมาชิกกลุ่ม
การประชุมหลังกลุ่ม
(เฉพาะผู้รักษา และทีม รวมทั้งผู้สังเกตการณ์)
-
สรุปข้อดีของการเรียนรู้ในกลุ่ม
-
สรุปการเรียนรู้ที่ไม่ถูกต้อง พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง
ครั้งที่ 8
วัตถุประสงค์
-
ผู้ป่วยรวบรวมเทคนิควิธีการต่างที่ได้เรียนรู้มาทั้งหมด 7 ครั้ง
เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
-
เตรียมตัวให้ผู้ป่วยหยุดการรักษาแบบกลุ่ม
วิธีการ
-
ผู้นำกลุ่มขอเชิญอาสาสมัคร สรุปการเรียนรู้ในครั้งที่ 7 5 นาที
- Round Turn
ให้ทุกคนได้สรุปการเรียนรู้ที่ผ่านมา 7 ครั้ง
ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น ความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้ การแก้ไขและป้องกันปัญหา
เมื่อไม่มีกลุ่มช่วยเหลือ 40 นาที
- ผู้นำกลุ่ม
และผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม สรุป
และส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่มนำกลับไปปฏิบัติต่อในชีวิตประจำวัน15 นาที
-
ถามตอบข้อสงสัย 20
-
นัดหมายเพื่อติดตามและประเมิน 10 นาที
การประเมินหลังทำกลุ่ม
ครั้งที่1
ทำเมื่อจบกลุ่มครั้งสุดท้าย ทันที
ครั้งที่ 2
หลังจากยุติกลุ่ม 8 สัปดาห์
ครั้งที่ 3
หลังจากยุติกรรม 24 สัปดาห์
หมายเหตุ
การประเมินใช้แบบสอบถามเดียวกัน (แบบเดียวกับการประเมินก่อนการทำกลุ่ม)
ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ดังนี้
1.
ตอบแบบสอบถาม ความเครียด 10 นาที
2.
ตอบแบบสอบถามอื่นๆ 20 นาที