บริษัทคลินิคจิต-ประสาท

 ห้องรับแขก

กลับไป ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชและปัญหาพฤติกรรม      

 

 

 

ปัญหาเพศสัมพันธ์ในผู้สูงอายุ

Sexual Dysfunctions in the  Elderly

ผศ นพ พนม  เกตุมาน 

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

     เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ การตอบสนองทางเพศมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัย  ทำให้เกิดปัญหาเพศสัมพันธ์ได้แก่ การแข็งตัวของอวัยวะเพศช้า  อวัยวะเพศแข็งตัวน้อยกว่าตอนหนุ่มสาว การแข็งตัวอยู่ได้ไม่นาน  ความต้องการทางเพศลดลง  การหล่อลื่นในช่องคลอดน้อยลง  ทำให้เกิดอาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์  เมื่อเกิดปัญหาขึ้น  ทำให้เกิดผลทางจิตใจตามมาได้มาก เช่นความกังวลใจ  ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการของความผิดปกติดังกล่าวมากขึ้น การเข้าใจปัญหาเหล่านี้ช่วยให้สามารถอธิบายให้ผู้สูงอายุยอมรับ  และแก้ไขปัญหาได้โดยเร็ว ไม่เกิดความวิตกกังวลซึมเศร้า  จนอาจทำให้ปัญหาเกิดต่อเนื่องไปเป็นเรื้อรังรักษายาก

 

Erectile Dysfunction (ED มะเขือเผา)

อาการ  อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว หรืออ่อนตัวเร็ว จนไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้

สาเหตุ

  1. ทางร่างกาย พบในผู้สูงอายุ ที่มีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดในอวัยวะเพศ

  2. ทางจิตใจ เกิดจากความเครียด วิตกกังวล  ทัศนคติและความเชื่อในเรื่องทางเพศ

  

Premature Ejaculation (ล่มปากอ่าว, นกกระจอกไม่ทันกินน้ำ)

อาการ ฝ่ายชายถึงจุดสุดยอดเร็วจนไม่สามารถทำให้ฝ่ายหญิงเกิดความพอใจได้

สาเหตุ 

ทางจิตใจ  ความเครียด วิตกกังวล

 

Frigidity  (เฉยชาทางเพศ)

อาการ  เพศหญิงเฉยชา ขาดการตอบสนองทางเพศ

สาเหตุ

  1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายตามวัย 

  2. ทางจิตใจ อารมณ์ ความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า  ทัศนคติทางเพศ

  3.  Dyspareunia (เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์)

อาการ  ฝ่ายหญิงเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์  เนื่องจากอวัยวะเพศขาดการหล่อลื่นทำให้เกิดการเสียดสีจนบาดเจ็บ

สาเหตุ 

  1. ทางร่างกาย  มีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัย

  2. ทางจิตใจ ขาดความรู้สึก ความต้องการทางเพศ  ขาดการตอบสนองทางเพศ

 

การประเมินเบื้องต้น

1.     อาการทางคลินิค เพื่อให้ได้ การวินิจฉัยเบื้องต้น

2.     ปัจจัยทางร่างกาย ที่เป็นสาเหตุ เช่น อายุ  โรคทางกาย  ยาที่กิน  ร่างกายที่ไม่แข็งแรง

         3.     ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นทางจิตใจและพฤติกรรม  ของสามีภรรยา  หลังจากเกิดอาการของโรคที่เป็น

4.     การแก้ปัญหาที่ได้ลองดูไปแล้ว ผลที่เกิดขึ้น

5.     ทัศนคติและความเข้าใจในเรื่องเพศเดิม ของทั้งสามีภรรยา   ความแตกต่างกันของความคิดและความต้องการทางเพศ  ความต้องการเวลามีเพศสัมพันธ์

6.     ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาทั่วไป  การสื่อสาร  การบอกความต้องการของตนเอง  การตอบสนอง  การแก้ไขปัญหาร่วมกัน

7.     ความสัมพันธ์ทางเพศที่ผ่านมา  ความพึงพอใจ  การสื่อสาร  การตอบสนองกัน  เทคนิควิธีการที่ใช้

         8.     ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อจิตใจ    เรื่องครอบครัว  ลูก  เศรษฐกิจ  งาน  ความเครียด โรคทางจิตเวชที่เป็นสาเหตุ  หรือเป็นผล

9.     แรงจูงใจที่จะช่วยเหลือแก้ไขปัญหาร่วมกัน

 

การรักษา

การรักษา มักสำเร็จเมื่อรักษาร่วมกันทั้งสามีภรรยา  เรียกว่า Dual therapy โดยใช้หลักการรักษาPsycho-bio-social model ดังนี้

 1 Psychoeducation

ให้ความรู้เรื่องเพศ  ดังนี้

สาเหตุของการเกิดโรค

การตอบสนองทางเพศตามปกติ  ความหมายของ SEX ในผู้สูงอายุ  ความผูกพัน  Intimacy  ความมั่นคงทางอารมณ์  การตอบสนองความต้องการ  ความพึงพอใจในชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องเพศ

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย

  1. ความเสื่อมของร่างกาย 

  2. การเปลี่ยนแปลงทางเพศ  ความต้องการทางเพศลดลงการตอบสนองทางเพศเปลี่ยนไป

  3. ความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์ลดลง

  4. โรคทางกายที่มีผลต่อการตอบสนองทางเพศ

การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ

  1. ความรู้สึกสูญเสีย  ไม่มั่นใจตนเอง

  2. เป็นความเครียดกังวล  ขัดแย้ง 

 

ปัญหาทางเพศที่พบได้บ่อยๆในผู้สูงอายุ

ชาย

  1. อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว

  2. ถึงจุดสุดยอดช้า หรือไม่ถึงจุดสุดยอด

  3. หลั่งน้ำอสุจิลดลง  ไม่พุ่งแรง

  4. หลั่งเร็ว

  5. ปัญหาทางเพศที่พบได้บ่อยๆในผู้สูงอายุ

หญิง

  1. อวัยวะเพศหญิงลดการหล่อลื่นขณะมีเพศสัมพันธ์

  2. อาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์

ทั้งสองเพศ

  1. ความต้องการทางเพศลดลง

  2. ความรู้สึกถึงจุดสุดยอดไม่รุนแรงเหมือนเดิม

 

แก้ไขความเชื่อและความเข้าใจผิดที่พบได้บ่อยๆ

  1. ผู้สูงอายุไม่ควรคิดเรื่องเพศ

  2. ผู้สูงอายุที่ยังคิดเรื่องเพศ เป็นความผิดปกติ

  3. เพศสัมพันธ์ในวัยสูงอายุเป็นเรื่องน่าอาย

  4. การมีเพศสัมพันธ์กับเด็กจะช่วยเพิ่มพลังทางเพศ

  5. สมุนไพร อวัยวะสัตว์  จะเพิ่มพลังทางเพศ

 

2 การรักษาทางกาย

ร่างกายที่แข็งแรง  ออกกำลังกาย  Excercise พักผ่อนเพียงพอ นอนหลับได้

การใช้ยา ใน Erectile dysfunction

การใช้เครื่องมือช่วย  เช่น กระบอกสูญญากาศ

 

3 การรักษาทางจิตใจสังคม

v     การลดความเครียดทุกทาง  เช่น การงาน ครอบครัว  หรือความเครียดหลังจากเกิดอาการผิดปกติทางเพศนั้น หรือปฏิกิริยาตอบสนองของคู่  ที่ทำให้ขาดความมั่นใจ  ลด Performance anxiety

v     ปรับทัศนะคติเรื่องเพศ

v     แก้ไขสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเสริม  บรรยากาศ  ความเครียด  ปัญหาในครอบครัว

v     สร้างความรู้สึกผ่อนคลาย

v     ฝึกปฏิบัติการผ่อนคลายตนเอง  เพื่อลดความเครียด ความวิตกกังวล  Breathing exercise หรือ  Relaxation training  การควบคุมความรู้สึก การกระตุ้น และการผ่อนคลาย relaxation

v     การส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดี  การสื่อสาร  เน้นบอกความต้องการตนเอง การตอบสนองความต้องการที่ตรงจุด

v     ฝึกการมีเพศสัมพันธ์โดยผ่อนคลาย   Desensitization exposure  เพื่อให้เกิดความเคยชินกับการอาชนะความกังวล ทีละน้อย  ถ้ายังมีความเครียด  ให้ฝึกผ่อนคลายตนเองควบคู่ไปด้วย

v     การกระตุ้นเล้าโลม(Foreplay)

v     การกระตุ้นความรู้สึกทางเพศเฉพาะที่ (Sensate focus)  สร้างความรู้สึกทางเพศด้วยการกระตุ้นประสาทสัมผัส ที่ทำให้เกิดการตอบสนองทางเพศ  ที่ไม่ใช่บริเวณอวัยวะเพศ  เมื่ออวัยวะเพศเริ่มแข็งตัว  อย่าเพิ่งรีบสอดใส่  ให้พยายามรักษาระยะเวลาที่มีความรู้สึกทางเพศอยู่ให้นาน  เมื่ออวัยวะเพศแข็งตัวพยายามให้จิตใจผ่อนคลาย  ถ้าอวัยวะเพศเริ่มอ่อนตัวให้หยุดกระตุ้นทางเพศสักครู่  แล้วเริ่มต้นกระตุ้นบริเวณอื่นที่ไม่ใช่อวัยวะเพศ

v     การหยุดเป็นครั้งคราว (Stop and start technique)  เมื่ออวัยวะเพศอ่อนตัว หรือความรู้สึกทางเพศสูง จนจะถึงจุดสุดยอดทางเพศ  ให้หยุดชั่วคราว แล้วค่อยเริ่มต้นใหม่ ไม่รีบร้อน หรือให้ถึงจุดสุดยอดเร็วเกินไป

v     ภรรยาต้องช่วยตอบสนองให้ผ่อนคลาย  ไม่คาดหวังเร็ว  หรือหงุดหงิด  เพราะจะเพิ่มความเครียดจนเกิดอาการ

bullet

การเล้าโลมหลังจากถึงจุดสุดยอด Afterplay

  v     การตอบสนองเมื่อเกิดความล้มเหลว

v     การแก้ไขปัญหาในชีวิตครอบครัว  การงาน ฯลฯ

v     การมีกิจกรรมที่ผ่อนคลาย

 

ความเชื่อและความเข้าใจผิดที่พบได้บ่อยๆในแพทย์

bullet

ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางเพศ จะปรึกษาแพทย์

bullet

แพทย์ที่ถามเรื่องเพศ  มักคิดถึงแต่เรื่องเพศ

bullet

ควรให้หมอเพศเดียวกับผู้ป่วยถามเรื่องเพศ

การส่งต่อปรึกษาจิตแพทย์

  1. เมื่อมีโรคทางจิตเวชที่ต้องการการรักษาทางจิตเวช  เช่น โรคซึมเศร้า

  2. เมื่อมีปัญหาในครอบครัวที่ซับซ้อน  เกินความสามารถที่จะจัดการได้ด้วยตัวเอง

  3. เมื่อรักษาเบื้องต้นแล้วไม่ได้ผล

 

 

<ห้องรับแขก

  คลินิคจิต-ประสาท 563 ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล  เขตดุสิต  กทม 10300  โทร. 0-2243-2142  0-2668-9435

   ส่งเมล์ถึง panom@psyclin.co.th พร้อมด้วยข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเว็บไซท์นี้
   ปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุด:21/05/50