บริษัทคลินิคจิต-ประสาท

 ห้องรับแขก

กลับไป ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชและปัญหาพฤติกรรม      

 

 

 

คำแนะนำในการช่วยเหลือนักเรียนที่ยังมีความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย

 

ผศ. นพ. พนม เกตุมาน  สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น  ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ 

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

1.     ติดตามดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด  สังเกตพฤติกรรม  อาการ  ปัญหาการเรียน  โดยไม่ให้เด็กหรือเพื่อนๆรู้ตัว

2.     ป้องกันการถูกล้อเลียนจากเพื่อนๆ  ว่ามีโรคทางจิตเวช

3.     ติดต่อผู้ปกครอง  อธิบายและจูงใจให้ผู้ปกครองเข้าใจอาการที่เด็กยังมี  เพื่อให้ผู้ปกครองร่วมมือในการให้ความช่วยเหลือที่โรงเรียน  สอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับอาการต่างๆที่อาจเกิดกับผู้ปกครองเช่นกัน

4.     แนะนำให้ผู้ปกครองที่ยังมีอาการความผิดปกติทางจิตใจพบกับทีมงานสุขภาพจิต

5.     หาโอกาสพูดคุยกับนักเรียนเป็นส่วนตัว  เพื่อสอบถามอาการต่างๆที่ยังคงมีอยู่

6.     อธิบายให้นักเรียนเข้าใจอาการที่เกิดขึ้น  ไม่เห็นว่าเป็นโรคทางจิตเวชร้ายแรง

7.     ติดตามพฤติกรรมนักเรียนที่โรงเรียน  และที่บ้าน

8.     ฝึกให้นักเรียนเอาชนะอาการต่างๆที่มีอยู่ด้วยตัวเอง

9.     ให้ความรู้แก่เด็กอื่นๆที่ไม่มีอาการ  เข้าใจของความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย  และการช่วยเหลือเพื่อนที่ยังมีอาการอยู่

10. จัดกิจกรรมให้นักเรียนทำเพื่อเบนความสนใจจากอาการ

11. พยายามให้นักเรียนมาเรียนอย่างสม่ำเสมอ 

12. ในนักเรียนที่ยังมีอาการมาก  และการช่วยเหลือเบื้องต้นเหล่านี้แล้วไม่ดีขึ้น  ให้ปรึกษาผู้ปกครอง  เพื่อขออนุญาตให้การช่วยเหลือโดยทีมสุขภาพจิต

 

 

ทีมสุขภาพจิตในพื้นที่

          ทีมสุขภาพจิตที่ได้มีการประสานงานเบื้องต้นไว้แล้ว  และสามารถให้คำปรึกษาได้  หรือให้คำแนะนำส่งต่อเพื่อช่วยเหลือระยะยาว  ได้แก่

  1. งานสุขภาพจิต  โรงพยาบาลตะกั่วป่า(คุณจิราพร  หรือพญ  สุดาพร  ไพรคณะรัตน์ )
  2. ศูนย์ฟื้นฟูจิตใจ  กรมสุขภาพจิต  ที่ตึกเหลือง ตำบล เขาหลัก  (พญ  เบญจพร  ปัญญายงค์)
  3. โรงพยาบาลพังงา (พญ  นัยนา  โปษยาอนุวัตร)
  4. โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ (พญ  ปาฏิโมกข์  พรหมช่วย)

 

ผศ.  นพ.  พนม  เกตุมาน

โครงการฟื้นฟูสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นที่ประสบธรณีพิบัติภัย ในโรงเรียน อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา  สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

<ห้องรับแขก

  คลินิคจิต-ประสาท 563 ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล  เขตดุสิต  กทม 10300  โทร. 0-2243-2142  0-2668-9435

   ส่งเมล์ถึง panom@psyclin.co.th พร้อมด้วยข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเว็บไซท์นี้
   ปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุด:21/05/50