บริษัทคลินิคจิต-ประสาท |
|
ครอบครัวไทย ใจเต็มร้อย Better Health in Reproductive Life ผศ. นพ. พนม เกตุมาน สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ครอบครัว คือพื้นฐานสำคัญของพัฒนาการมนุษย์ การเรียนรู้ของเด็กเริ่มต้นเกิดขึ้นในครอบครัว ครัวที่มีความสุขความอบอุ่นจะช่วยให้เด็กเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพ ครอบครัวไทยในปัจจุบันกำลังเผชิญปัญหามากขึ้น เนื่องจากสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความเจริญทางวัตถุมากขึ้น โครงสร้างของครอบครัวเปลี่ยนไป ครอบครัวมีขนาดเล็กลง การหย่าร้างมากขึ้น คนสนใจและให้ความสำคัญต่อจิตใจน้อย พ่อแม่มีเวลาให้ลูกน้อยลง มีปัญหาในการเลี้ยงดูเด็กมากขึ้น ครอบครัวขาดความอบอุ่น ขาดความสุข ทำให้เกิดปัญหาเด็กและวัยรุ่นมากขึ้น การส่งเสริมให้ครอบครัวมีความเข้มแข็ง จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง วัตถุประสงค์ เข้าใจองค์ประกอบของครอบครัวที่มีความสุข ส่งเสริมพัฒนาการของครอบครัวและสมาชิกครอบครัว ลักษณะจำเพาะของครอบครัวไทย ครอบครัวแต่เดิมมีลักษณะแบบครอบครัวขยาย extended family ซึ่งเป็นจุดเด่น ในการช่วยเหลือเกื้อกูลประคับประคองกันระหว่างสมาชิกครอบครัว ช่วยให้เด็กได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ป้องกันปัญหาต่างๆ เช่น การทอดทิ้งหรือทารุณเด็ก อย่างไรก็ตาม จุดด้อยของครอบครัวไทย อาจเกิดความสับสนในการเลี้ยงดู การก้าวก่ายกันของผู้ใหญ่ เด็กขาดความเป็นตัวของตัวเอง สมาชิกครอบครัวมีการแสดงออกต่อกันทางอารมณ์น้อย สภาพปัญหาที่คุกคามระบบครอบครัว สภาพสังคมที่มีความเจริญอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะทางด้านวัตถุ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทำให้ครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ครอบครัวต้องมีการปรับตัว และป้องกันปัญหาต่างๆมากขึ้นกว่าเดิม องค์ประกอบของครอบครัวที่มีลักษณะ ใจเต็มร้อย 1. โครงสร้างแข็งแรง มีระบบที่ชัดเจน มั่นคง 2. สมาชิกครอบครัว แข็งแรงปราศจากโรคทางร่างกายและจิตใจ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างกันดี 4. ครอบครัวเกิดความสำเร็จ (achievement) สมาชิกทุกคนประสบความสำเร็จ ความพึงพอใจในความสำเร็จของตนเอง และครอบครัวประสบความสำเร็จทั้งระบบ การสร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง 1. เป้าหมายของครอบครัว (Set goal) ครอบครัวมีการตั้งเป้าหมายร่วมกัน สร้างครอบครัวในฝัน ความสุข ความสัมพันธ์ดีต่อกัน พ่อแม่ลูก มีความสำเร็จในการงาน การเรียน ฐานะมั่นคง ไม่มีหนี้สิน มีบ้าน มีรถยนต์ มีเวลาว่าง พักผ่อน ท่องเที่ยว เศรษฐกิจพอเพียง 2.การแบ่งปันและมีส่วนร่วม (Share) ครอบครัวที่ดีมีความสนใจ ใส่ใจซึ่งกันและกัน Sensitive to each other ทั้งความคิดความรู้สึก และมีส่วนร่วมกัน มีการสื่อสารกันอย่างชัดเจนตรงไปตรงมา บอกความต้องการของตนเอง และความคาดหวังกัน Communication and clarification สมาชิกทำตามบทบาทหน้าที่ของตน และช่วยให้คนอื่นทำหน้าที่ได้อย่างดี ยอมรับกันและกัน approval เมื่สมาชิกครอบครัวมีปัญหา จะช่วยเหลือประคับประคองกันกัน Emotion support มีการป้อนข้อมูลย้อนกลับแก่กันด้วยวิธีนุ่มนวลและยอมรับได้ feedback 3.โครงสร้างของครอบครัว (Structure of family) การมีตารางเวลาที่แน่นอน มีการวางแผนล่วงหน้าร่วมกัน การรู้จักจัดระดับความสำคัญตนเอง และสมาชิกอื่นในครอบครัว (hierarchy subsystem) มีความยืดหยุ่นปรับตัวที่ดี มีการสื่อสารอย่างชัดเจน (flexibilities) 4.พัฒนาการทางเพศ (Sex) สามีภรรยามีตอบสนองและมีความพึงพอใจทางเพศที่สมดุล ตอบสนองความต้องการแก่กันได้ดี พ่อแม่เป็นแบบอย่างทางเพศที่ดี พ่อแม่ให้ความรู้และทัศนะคติทางเพศที่ถูกต้องแก่ลูก 5. บทบาทของสมาชิกครอบครัว (Roles) บทบาทของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูก ทัศนคติในการเลี้ยงลูก การเป็นผู้นำผู้ตามในครอบครัว การเป็นแบบอย่างที่ดีของพ่อแม่ การเคารพสิทธิขอบเขตของกัน 6. ความรับผิดชอบ (Responsibilties) พ่อแม่มีหน้าที่สอนให้ลูกมีความรับผิดชอบต่อตนเอง มีระเบียบวินัย มีการควบคุมตนเองให้อยู่ในกฎกติกาของครอบครัว เทคนิคในการเลี้ยงลูก
สรุป การเลี้ยงลูกอย่างถูกต้องช่วยให้ครอบครัวพัฒนาไปด้วยดี สมาชิกครอบครัวมีความสุข และหัวใจเต็มร้อย |
คลินิคจิต-ประสาท 563 ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กทม 10300 โทร. 0-2243-2142 0-2668-9435
ส่งเมล์ถึง
panom@psyclin.co.th พร้อมด้วยข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเว็บไซท์นี้
|