บริษัทคลินิคจิต-ประสาท |
|
การส่งเสริมการเรียนรู้นักเรียน นพ พนม เกตุมาน สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
1. สร้างแรงจูงใจในการเรียน · เด็กรู้สึกว่าเป็นที่รักของครูและเพื่อน · เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ · วิธีการจัดประสบการณ์เรียนรู้และบรรยากาศในการเรียนสนุก เรียนแบบบูรณาการ · มีวิธีนำสู่บทเรียน ใช้กิจกรรมหลากหลาย · สร้างความรู้สึกอยากเรียน อยากรู้ว่ามีอะไรต่อไป สิ่งที่เรียนรู้จะเอาไปใช้ในชีวิตจริงอย่างไร นำปัญหาหรือเหตุการณ์ในชีวิตจริงที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้มานำสู่การเรียน · ใช้อารมณ์ขัน เรื่องตลกที่เกี่ยวข้อง ข้อคิดประทับใจ · ลดความเครียดในการเรียนที่ไม่จำเป็น ครูไม่เป็นกันเอง ครูดุ ทำโทษมากเกินไป ใช้เวลาในการบ่น ดุเด็กที่ไม่ได้อยู่ในห้อง ทำโทษกลุ่ม ไม่ได้สอน สอนไม่เข้าใจ สอนเร็วเกินไป ให้งานเยอะ การบ้านเยอะ · เรียนเข้าใจ/รู้เรื่อง 2. จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม · การจัดตำแหน่งเด็ก · จัดที่นั่งใหม่ แบบวงกลม วงกลมซ้อนกัน กลุ่มย่อยหลายกลุ่ม ไม่มีกลุ่ม · เรียนนอกห้องเรียน ใต้ต้นไม้ สวนหย่อม ห้องประชุม ห้องฝึกสมาธิ · เรียนนอกโรงเรียน ในวัด ในโบสถ์ สวนสาธารณะ หอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ โรงเรียนอื่น ศูนย์เยาวชน โรงพยาบาล 3. เปลี่ยนบรรยากาศ 4. ใช้วิธีการสอนหลายแบบ ให้สนุก ประทับใจ จับคู่ กลุ่มผึ้ง(Buzz Group) กลุ่มใหญ่ เขียนเว็บ แผนที่ความคิด (Mind Map) ระดมสมอง(Brain Storming) จัดระบบความคิด (Affinity Diagram) 5. ฝึกให้เขียน บันทึก คิดวิเคราะห์ด้วยตัวเอง 6. ฝึกให้เด็กสังเคราะห์ คิดหาคำตอบที่หลากหลาย 7. มีการทดลองพิสูจน์สิ่งที่คิด หรือเรียนรู้ กล้าท้าทายการสอนของครู การป้องกันปัญหาพฤติกรรม 1. กำหนดกติกาให้ชัดเจน 2. เอาจริงกับกฎเกณฑ์ ไม่ปล่อยให้มีการละเมิดกัน 3. ใช้เทคนิค ขอเวลานอก เมื่อเด็กละเมิดคนอื่น 4. แจ้งข้อหา อย่างรวบรัด 5. ฟังเหตุการณ์รอบด้านอย่างสงบ เปิดโอกาสให้พูดพอควร แต่อย่าให้เป็นการแก้ตัวเกินไป 6. ตัดสินด้วยความสงบ ตามข้อตกลงของการจัดการเมื่อมีการละเมิดกัน 7. ใช้การลงโทษ ที่ไม่ก้าวร้าวรุนแรง เช่น การตัดรางวัล บำเพ็ญประโยชน์ ออกกำลังกาย 8. ชวนคิดหาวิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ เช่น เวลาเพื่อนล้อเลียน จะมีทางออกอื่นๆอย่างไรอีก เช่น ฟ้องครู บอกเพื่อนตรงๆ ให้เพื่อนช่วย ไม่สนใจ เปลี่ยนความคิดใหม่ เพื่อนล้อเท่ากับเพื่อนสนใจ อยากเล่นด้วย ล้อกลับ ชวนเพื่อนเล่นอย่างอื่น ทำให้เพื่อนรักเสียเลย ขู่กลับ 9. หากิจกรรมเบนความสนใจ 10. ใช้กิจกรรมที่ระบายความโกรธ ความก้าวร้าว เช่น เตะฟุตบอล ชกกระสอบทราย เครื่องปั้นดินเผา แกะสลัก แต่กิจกรรมนั้นต้องมีกติกาควบคุม 11. ให้ทำงานที่เป็นประโยชน์ ให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อน และครู
การลงโทษ 1 ไม่เสียความสัมพันธ์ระหว่างกัน 2 หาข้อมูลให้ครบถ้วน อย่าลงโทษผิดคน ฟังเด็ก แจ้งข้อหาให้ชัดเจน 3 ลงโทษให้ถูกคน อย่าลงโทษกลุ่มจากความผิดของคนๆเดียว 4 ไม่อาย เสียหน้า เสียเกียรติหรือศักดิ์ศรีของมนุษย์ไม่ควรไล่ให้ไปพ้นๆ ไปขายเต้าฮวย ฯลฯ 5 ไม่น่ากลัวเกินไป ไม่ควรขู่ หรือขู่แล้วไม่ทำตามที่ขู่ 6 ไม่รบกวนการเรียนรู้ปกติ ไม่ควรไล่ออกจากห้อง 7 ไม่เสียความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เช่น การด่าว่า เป็นสัตว์ ใช้คำพูดหยาบคาย 8 มีการตกลงกันไว้ก่อน ว่าถ้ามีการทำความผิด จะเกิดอะไรขึ้น 9 ทำด้วยความสงบ ไม่ใช้อารมณ์ 10 ไม่รุนแรงจนบาดเจ็บ หรือมีความเสี่ยงต่ออันตราย 11 เปิดโอกาสให้เด็กคิด ทบทวนตนเอง 12 จบแล้วจบกัน ไม่คิดแค้น ไม่มีอคติต่อไป 13 มองเด็กในแง่ดี คาดหวังดีต่อไป เปิดโอกาสให้แก้ตัวใหม่เสมอ การแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่สาเหตุ · หาสาเหตุ ทางร่างกาย จิตใจ หรือสังคม(ครอบครัว เพื่อน หรือ ครู) · ปัจจัยเสี่ยง พื้นอารมณ์เด็ก บุคลิกภาพเดิม นิสัยใจคอเดิม การเลี้ยงดู · ปัจจัยกระตุ้น ความเครียดในชีวิต การเปลี่ยนแปลง เช่น ย้ายโรงเรียน มีน้องคนใหม่ พ่อแม่หย่าร้างกัน เพื่อนรังแก การสอบ · ปัจจัยเสริม ความไม่เข้าใจของสิ่งแวดล้อม ปัญหาที่คาราคาซังกันอยู่ เช่น การที่เด็กไม่ไปโรงเรียน ทำให้พ่อแม่โกรธ ลงโทษรุนแรงทำให้เด็กกลัว และไม่ยอมไปโรงเรียนมากขึ้น การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้พฤติกรรมบำบัด· จัดสิ่งแวดล้อม ( environmental manipulation) · ใช้สิ่งกระตุ้น ( cueing) · เงื่อนไข (conditioning)
|